มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กรณีศึกษา: การจดสิทธิบัตรกับภูมิปัญญาท้องถิ่น อ.เมือง จ.จันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการด้วยกันคือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ทางด้านการจดสิทธิบัตร และความรู้ความเข้าใจของคนในชุมชนที่มีต่อกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา 2. เพื่อนำเสนอมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ด้านการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรีมาจดสิทธิบัตร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 50 คน จากการสุ่มแบบโควตา ผู้วิจัยศึกษาเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาด้านการจดสิทธิบัตร และผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตรจำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจำนวน 2 คน และผู้นำชุมชนในแต่ตำบลที่มีความรู้ทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 11 คน ผ่านการตอบแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (Analytic Induction) สร้างข้อสรุป และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะข้อมูลตาราง และข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ประการแรกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะการจดสิทธิบัตร อย่างไรก็ดีแม้ว่าคนในชุมชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะในประเด็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาจดสิทธิบัตรและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แต่ยังคงมีความเข้าใจผิดในเรื่องประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาและเงื่อนไขความคุ้มครองในการจดสิทธิบัตร และประการที่สองด้านมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กรณีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรีมาจดสิทธิบัตรควรมี 1) การตรากฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะ 2) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะในเรื่องของการจดสิทธิบัตร 3) การนำแนวทางตามกฎหมายของประเทศฟิลิปปินส์กรณีที่รัฐสามารถออกกฎหมายเพื่อดำเนินการให้ความคุ้มครองแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้โดยไม่จำเป็นต้องอิงหลักการสร้างสรรค์หรือการจดทะเบียนในงานเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งมาปรับใช้ 4) การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับหลักการที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และ 5) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจดทะเบียนสิทธิบัตร เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและปัญญา บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2559). กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาไทย. สืบค้นจาก https://www. ipthailand.go.th/th/dip-law-2.html
กาญดา โกศัย. (2555). แนวคิด ทฤษฎี การจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/492099
จักรี ไชยพินิจ. (2553). เศรษฐกิจการเมืองของนโยบายทรัพย์สินทางปัญญา : ศึกษากรณีการใช้สิทธิ ตาม สิทธิบัตรยาในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
จิรวรัตน์ พุทธรังษี. (2547). การระงับซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา : ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (สิทธิบัตร สิทธิบัตรพืช และพันธุ์พืช). (วิทยานิพนธ์ ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์ และภูมินทร์ บุตรอินทร์. (2561). ประวัติศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน ทาง ปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุลนิติ. (2557). สิทธิบัตร. สืบค้นจาก http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/ FCKeditor/upload/Image/b/k119%20jun_11_6.pdf
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2562). ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา : พื้นฐานความรู้ทั่วไป ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แบบผังภูมิของวงจรรวม พันธุ์พืชใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง. (2558). มาตรการกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อปกป้องภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้าน สินค้าอาหารในประชาคมอาเซียน : บทเรียนสำหรับประเทศไทย : รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
เทพรัตน์ พิมลเสถียร. (2560). นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธีระพล อรุณะกสิกร และคณะ. (2558). รวมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
ธีระพล โชติพันธ์. (2551). มาตรการทางอาญาต่อการกระทำความผิดต่อทรัพย์สินทางปัญญา. (วิทยานิพนธ์ ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ธเนศ พฤกษ์สมบูรณ์. (2559). มาตรการทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองภูมิ ปัญญาท้องถิ่นไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
นฤมล ปัญญาวชิโรภาส. (2557). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น. เลย: สาขาการพัฒนาชุมชน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
บุญเลิศ อรุณไพบูลย์. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สืบค้นจาก http://www.thailibrary.in.th/2019/08/20/national-strategy-20yrs/
ประสาร โสมเสมสุวรรณ. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ศึกษากรณี : การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์. (สารนิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
ปริญญา ศรีเกตุ. (2561). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา. วารสาร วิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(1), 148-163.
ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2562). ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญู ชน.
พชร ลิมป์จันทรา. (2550). การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กฎหมายของประเทศไทย: เปรียบเทียบกับ ความตกลงระหว่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี. (2561). ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นจาก http://www.eculture.rbru.ac.th/index.php?group=48
วิวิธ วงศ์ทิพย์. (2557). แนวทางการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย: ศึกษาเปรียบเทียบ ประเทศไทยกับ ประเทศอินเดีย” วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(3), 323-344.
วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี, บรรณาธิการ. (2561). การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ. (2559). ทรัพย์สินทางปัญญา. สืบค้นจาก http://www.sat.tu.ac.th/tuipi/tuip01.php
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการ เป็น ผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ, 33(4), 49-65.
สุชาดา เจริญวิริยะธรรม. (2556). การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิและสิทธิของผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์. (2561). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนา. โครงการผลิตหนังสือและตำรา คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ใหม่ มูลโสม. (2560). ทรัพย์สินทางปัญญาในยุคประเทศไทย 4.0. สืบค้นจาก https://library2. parliament.go.th/giventake/content_royrueng/2560/rr2560-jan4.pdf
อัครวัฒน์ สิริเพ็ญโสภา. (2559). ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายแข่งขันทางการค้ากับกฎหมาย คุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญา : ศึกษาเฉพาะกรณีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญานิติศาสตร มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.