ความหลากหลายทางชีวภาพเชิงพื้นที่ที่มีผลต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วงธรรม สรณะ
นักรบ เถียรอ่ำ
ชูวงษ์ อุบาลี
จุตินันท์ ขวัญเนตร

บทคัดย่อ

บทความนี้เสนอเกี่ยวกับการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพเชิงพื้นที่ ที่มีผลต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง จังหวัดจันทบุรี เป็นชาวพื้นบ้านดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณภูเขาและป่า เป็นการวิจัยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory research (PAR))แบบสหวิทยาการ (Transdisciplinary) ผสมผสานระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ และการมองแบบบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม โดยเฉพาะในด้านการผลิตและความมั่งคงทางอาหาร


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ชอง วิถีการผลิตอาหารแบบเรียบง่าย ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ลักษณะอาหารส่วนใหญ่ เป็นอาหารแห้ง การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ 1. นโยบายรัฐส่วนกลาง สัมปทานป่าไม้ และการกำหนดพื้นที่การเข้าใช้ประโยชน์จากป่า การไหล่บ่าของวัฒนธรรมอาหารสมัยใหม่ และการพัฒนาสู่การเป็นอุตสาหกรรม และ 2. การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมนุษย์และธรรมชาติ


ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. ภาครัฐในส่วนกลางควรมีการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรที่เป็นฐานการผลิตอาหารที่สำคัญ โดยเฉพาะทรัพยากรการผลิตในระดับชุมชนบนพื้นฐานของการให้สิทธิแก่ชุมชนในการจัดการ และการพัฒนาแหล่งทรัพยากรทางอาหารด้วยตัวของชุมชนเอง 2. ภาครัฐในระดับท้องถิ่นควรมีการส่งเสริมการผลิตอาหารที่พึงพาความหลากหลายเชิงพื้นที่ผ่านวัฒนธรรมประเพณีภายในชุมชน ซึ่งจะช่วยให้วัฒนธรรมการผลิตอาหารดำรงอยู่ และเป็นการช่วยรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Dreze Jean and Sen Amartya. (1989). Hunger and Public Action. Oxford: Clarendon Press.

กลุ่มชาวบ้านหมู่ที่ 6 ตำบลตะเคียนทอง. (2561) สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561.

จิรเดช อรชุน. (2555). กลุ่มชาติพันธุ์ชอง : รูปแบบการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2542). (ม.ป.ป.). ปฏิบัติการวิจัยทางสังคม. เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ยศ สันตสมบัติ. (2544). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิจัยเพื่อท้องถิ่น, ฝ่ายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ. (ม.ป.ป.). สืบค้นจากhttp://vijai.trf.or.th/Activity_detail.asp?topicid=867.

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. (2555). แนวคิดและคำนิยามของความมั่นคงทางอาหาร. สืบค้นจากhttp://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/36/24.pdf.

ศูนย์ข้อมูลภูมิศาสตร์สารสนเทศศาสตร์คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (2558). สืบค้นจากhttp://geo.buu.ac.th/GOI/EGIS/index.php?action=other

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. (2560). ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นจากhttp://province.m-culture.go.th/chanthaburi/history.html. 20 มีนาคม 2560.

สินธุชัย ศุกรเสพ และคณะ. (2558) .กลไกบูรณาการความแตกต่างทางชาติพันธุ์: การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพในภาคตะวันออก. ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย โดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ, สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุเรขา สุพรรณไพบูลย์. (2530). การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยรำไพพรรณี.

ไสว ไม่ปรากฏนามสกุล. (2561). สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561.