การวิเคราะห์ระบบแถวคอยของการบริการเช็คอินผู้โดยสารของสายการบิน กรณีศึกษา สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง

Main Article Content

อรทัย เกียรติวิรุฬห์พล
นิศากร สมสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแถวคอยของการให้บริการที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้บริการเช็คอินผู้โดยสารของสายการบินของระบบแถวคอยระหว่างแถวคอยเดียว (Single Queue) และแถวคอยหลายแถว (Multiple Queue) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูลจำนวนผู้โดยสารที่รอมารับบริการที่เคาน์เตอร์เช็คอินและแบบบันทึกข้อมูลจำนวนผู้โดยสารที่เข้ารับบริการในแถวคอยที่เคาน์เตอร์เช็คอิน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเข้ามารับบริการเคาน์เตอร์เช็คอินของผู้โดยสารมีการแจกแจงแบบปัวส์ซงและอัตราการให้บริการที่เคาน์เตอร์เช็คอินของพนักงานมีการแจกแจงแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล และ 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ โดยใช้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของระบบแถวคอยทั้งหมดสี่ตัวชี้วัด ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารโดยเฉลี่ยที่อยู่ในแถวคอย จำนวนผู้โดยสารโดยเฉลี่ยที่อยู่ในระบบ เวลาเฉลี่ยที่ผู้โดยสารแต่ละรายใช้ในแถวคอย และเวลาเฉลี่ยที่ผู้โดยสารแต่ละรายใช้ในระบบ พบว่าชี้ว่ารูปแบบแถวคอยเดียวมีประสิทธิภาพมากว่าหลายแถว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัฐชสรณ์ กาญจนศิลานนท์. (2559). การสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าในธุรกิจโรงแรม. Veridain E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 154-168.

ชลวิช สุธัญญารักษ์. (2558). การบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พิมพ์ครั้งที่2 , จังหวัดปทุมธานี, หน้า 33-42.

ดํารงฤทธิ์ พลสุวัตถ์. (2551). การวิเคราะห์ระบบแถวคอย: กรณีศึกษาการรับสมัครนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี วิทยาเขตพระนครเหนือ. สืบค้นจากhttp://repository.rmutp.ac.th.

ปอแก้ว เรืองเพ็ง. (2556). การจำลองระบบแถวคอยแผนกผู้ป่วยนอก กรณีศึกษา คลินิกอายุร กรรม โรงพยาบาล พัทลุง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), หน้า 834-845.

ปิยพร สุวรรณรัตน์. (2555). การวิเคราะห์ระบบแถวคอยของผูใช้บริการทางพิเศษ กรณีศึกษา ด่านประชาชื่น. ปริญญานิพนธ์ ศ.ม. (เศรษศาสตร์การจัดการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, หน้า 30-32.

ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก และ สิริมา บูรณ์กุศล. (2558). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในจังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2, 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา, หน้า 442-447.

ธนิญา ชนะเพีย และพิริยา พุทธศรีวิจัย. (2557). ระบบแถวคอยโดยใช้ทฤษฎีแถวคอย กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาขอนแก่น, หน้า 15.

นริสา คันธเศรษฐ์, วีณา พันธไชย, อรวรรณ พรพิมลมิตร, สิริกร บำรุงปรีชา, จุฑารัตน์ พิริยะศักดิ์จินดา, และสถาพร โอภาสานนท์. (2551). การจำลองกระบวนการไหลเวียนของผู้โดยสารภายในอาคารผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. การประชุมเชิงวิชาการประจำปีด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ครั้งที่ 8, หน้า 690-701.

นิศากร สมสุข. (2554) เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “สถิติสำหรับวิศวกร”. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

พีระยุทธ คุ้มศักดิ์. (2555). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อคุณภาพการบริการของสายการบินต้นทุนต่ำภายในประเทศ. การประชุมวิชาการระดับชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 2 “การบูรณาการความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”, 29 พฤษภาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จังหวัดปทุมธานี, หน้า 1-11.

วีรยา ภัทรอาชาชัย. (2547). การศึกษาการประยุกต์ตัวแบบแถวคอยในวงการธนาคารไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ยุภาพร ตงประสิทธิ์. (2558). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา 316371 การวิจัยดำเนินงาน Operations Research เรื่องทฤษฎีแถวคอย (Queuing Theory).

ศศิวรรณ รัตนอุบล และชานินทร์ ศรีสุวรรณนภา. (2556). การจำลองสถานการณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ให้บริการของคลินิกกุมารเวชและอายุรกรรม ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์ ลาดกระบัง, 22(1), 108-116.

สกุลรัตน์ ปั้นคง. (2558). การแก้ปัญหาความล่าช้าในระบบแถวคอยของเคาน์เตอร์บริการ.สืบค้นจาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th.

สุทธิมา ชำนาญเวช. (2551). การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

อรัญญา พิสิษฐเกษม, ปภัสสร ผลเพิ่ม และ พัชนี จันทร์น้อย. (2555). แนวโน้มการเปลี่ยนมาใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำของผู้ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2555, หน้า 76-82.

อณจ ชัยมณี, ชวลิต มณีศรี และ จุฑา พิชิตลาเค็ญ. (2555). การวิเคราะห์แบบจำลองระบบการให้บริการอาหารจานด่วน. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 วันที่ 17-19 ตุลาคม 2555,หน้า 67.สืบค้นจาก http://www.dms.eng.su.ac.th/filebox/FileData/OR017.pdf

Hong, L. and Zhenkai, W. (2007). The computer simulation for queuing systems. World Academy of Science, Engineering and Technology. 34(23), 511-514.

IATA. (2017). 2036 Forecast Reveals Air Passengers Will Nearly Double to 7.8 Billion. Retrieved July 1, 2018, from http://www.iata.org/pressroom/pr/Pages/201710-24-01.aspx

Inés, P. G. (2017). Improving check-in processing at Brisbane airport (Master's Thesis). Retrieved from: https://core.ac.uk/download/pdf/132529107.pdf

Lange, Robert de., Ilya. Samoilovich., and Bo van der. Rhee. “Virtual Queuing at Airport Security Lanes.” European Journal of Operational Research. 225. (2013): 153–165.

Mahmut Parlar&Moosa Sharafali (2008). Dynamic allocation of airline check-In counters: A Queuing optimization approach (P.1413)