การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยคุณภาพที่มุ่งเน้นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนของหมู่บ้านเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้นำชุม หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง และนักท่องเที่ยว และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา โดยผลวิจัยพบว่า การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนของหมู่บ้านเสม็ดงาม เป็นรูปแบบทิศทางการสื่อสารแบบการสื่อสารสองทาง ทั้งการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารสลับหน้าที่กันได้ โดยต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ควรมีความหลากหลายของสมาชิกหรือผู้เข้าร่วม เพื่อจะได้สะท้อนความคิดเห็นต่าง เนื้อหาของสารประกอบไปด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้ด้านต่าง ๆ ในชุมชน ช่องทางการสื่อสารเป็นลักษณะเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยช่องทางที่ผ่านทางบุคคลมีความสำคัญที่สุด การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของชุมชนท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่เข้าใจมากยิ่งขึ้น
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฏีเศรษฐศาสตร์
การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กิติมา สุรสนธิ, ศุภกิจ แดงขาว และอนงค์ลักษณ์ สมแพง. (2557). ความรู้ทางการสื่อสาร
(Introduction to Communication) ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: คณะวารสาร
ศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กุลธิดา ศรีสุวรรณ และรรินทร วสุนันต์. (2558). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริม การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนชุมชนกะปง จังหวัดพังงา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต, 11(3), 25-32.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับที่ 2 (2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ ปฏิบัติการวิจัยใน สังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
พจนา สวนศรี. (2554). “บทบาทของประชาชนในท้องถิ่นต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” เอกสารการสอน ชุดวชิาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิพย์สุดา ปานเกษม และพรพรรณ ประจักรเนตร. (2559). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดน่าน. ประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ คณะนิเทศศาสตร์และ นวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1 กรกฎาคม 2559, 155-176
สำนักพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง. (2561). เอกสารแบบสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว. จันทบุรี.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2553). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้น เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 จาก: http://www.dasta.or.th/ th/component/k2/item/
Kavaratzis M, Kalandides A. (2015). Rethinking the place brand: the interactive formation of place brands and the role of participatory place branding. Environ Plan A. 47(6), 1368– 1382.
Panagiotopoulou, M., Somarakis, G., and Stratigea, A. (2018). Smartening up Participatory Cultural Tourism Planning in Historical City Centers. Journal of Urban Technology. 29 Oct 2018, 1-25