ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการจัดการขยะและน้ำเสียในท้องถิ่นที่เป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดกระบี่

Main Article Content

พงศ์พันธุ์ เอ่งฉ้วน
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

บทคัดย่อ

จังหวัดกระบี่เป็นหนึ่งในจังหวัดกลุ่มการท่องเที่ยวทะเลอันดามันที่มีความสวยงามธรรมชาติที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ประสบปัญหาทั้งขยะและน้ำเสีย เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นในกลุ่มอันดามันซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคธุรกิจเอกชนได้ร่วมกันจัดการขยะและน้ำเสียโดยมีข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการจัดการขยะและน้ำเสียเป็นฐานอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยได้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ,ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้ได้คำตอบนำไปสู่การจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น


                 การวิจัยพบว่า การจัดการขยะให้ได้ผลคือการคัดแยกขยะก่อนทิ้งโดยประชาชนในชุมชนและธุรกิจกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และขยะที่คัดแยกมี 4 ประเภท คือขยะอินทรีย์ ขยะมีมูลค่า ขยะอันตรายและขยะติดเชื้อ การเก็บขนขยะตามวันและตามประเภทขยะที่มีถุงสีใส่ขยะ ให้นักท่องเที่ยวมีถุงขยะสำหรับใส่ขยะที่จัดการโดยผู้ประกอบการท่องเที่ยวและจัดเก็บถึงขยะจากนักท่องเที่ยวเมื่อเสร็จสิ้นการท่องเที่ยว การจัดการน้ำเสีย ให้ใช้วิธีการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมโดยผู้ปล่อยน้ำเสียมาบำบัด คือ ผู้ประกอบการร้านค้า โรงแรม ที่พัก และการท่องเที่ยว จะต้องจ่ายค่าบำบัดน้ำเสียตามอัตราที่กฎหมายกำหนด


      

Article Details

How to Cite
เอ่งฉ้วน พ., & มัลลิกะมาลย์ ส. (2022). ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการจัดการขยะและน้ำเสียในท้องถิ่นที่เป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดกระบี่. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 63–73. https://doi.org/10.14456/issc.2022.7
บท
บทความวิจัย

References

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522

พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558

พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2551

พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พ.ศ. 2542

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2558). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2555). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน ว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2557). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน

ประยูร กาญจนดุล. (2538). การบรรยายกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ วนิดา ลาวัณย์ทักษิณ และนันทพล กาญจนวัฒน์. (2553). การจัดทำแผนรองรับวิฤติการณ์สภาวะสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจำแนกตามปัญหาขยะและน้ำเสีย. รายงานวิจัยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). ทิศทางการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

อนันตชัย นาระถี. (2552). คู่มือกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2550). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.

จรัส สุวรณมาลา. (2544). การพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณะขององค์กรส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

นันทพล กาญจนวัฒน์. (2555). ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการลดขยะและขจัดมลพิษสิ่งแวดล้อม. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพ: สถาบันพระปกเกล้า

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542” กรุงเทพฯ: สำนักงานกฤษฎีกา, 2542.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา . (2542). “หลักการบริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”

สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2545). คู่มือการปฏิบัติงานด้านการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี.