อัตลักษณ์มุสลิมในภาพยนตร์ไทย

Main Article Content

ภาณุ อารี
สุเทพ เดชะชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “อัตลักษณ์มุสลิมในภาพยนตร์ไทย” เป็นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มุ่งวิเคราะห์คุณลักษณะของอัตลักษณ์มุสลิมในภาพยนตร์ไทย และกระบวนการประกอบสร้างอัตลักษณ์มุสลิมในภาพยนตร์ 8 เรื่องที่ออกฉายระหว่างปี พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2560 ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ (2528)  ภาพยนตร์เรื่อง ปุลากง (2532) ภาพยนตร์เรื่อง ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน (2545)  ภาพยนตร์เรื่อง โอเค เบตง (2546)  ภาพยนตร์เรื่อง อมีน(2558) ภาพยนตร์เรื่อง ละติจูดที่ 6 (2558)  ภาพยนตร์เรื่อง มหาสมุทรและสุสาน(2559)  และภาพยนตร์เรื่อง สัจจะธรณี (2560)โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณลักษณะของอัตลักษณ์มุสลิมในภาพยนตร์ไทย และศึกษากระบวนการประกอบสร้างอัตลักษณ์มุสลิมในภาพยนตร์ไทย  สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย หลักการอิสลาม ทฤษฎีประกอบสร้างความจริงทางสังคม  แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ ทฤษฎีการเล่าเรื่อง แนวคิดการสร้างตัวละคร และภาษาภาพยนตร์ ผลการวิจัยพบว่า1.อัตลักษณ์มุสลิมที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยเรื่องต่าง ๆ มี 11 ประเภทประกอบด้วย อัตลักษณ์ทางกายภาพ อัตลักษณ์ความผูกพันกับชุมชน  อัตลักษณ์ความศรัทธาต่อศาสนา อัตลักษณ์การอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม อัตลักษณ์ความโอบอ้อมอารี อัตลักษณ์ความรุนแรง อัตลักษณ์ความเหลื่อมล้ำทางเพศ อัตลักษณ์ความแปลกแยก อัตลักษณ์ความอ่อนแอ อัตลักษณ์ความเจ้าเล่ห์เพทุบาย และอัตลักษณ์การตกเป็นผู้ถูกกระทำ2. กระบวนการประกอบสร้างอัตลักษณ์มุสลิมมี 2 แบบ ประกอบด้วย การประกอบสร้างอัตลักษณ์ทางกายภาพผ่านการสร้างตัวละคร และ การประกอบสร้างอัตลักษณ์ด้วยเทคนิคภาพยนตร์ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการทางด้านภาพและเสียง

Article Details

บท
บทความวิจัย