นวัตกรรมทางการเงินสำหรับผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทยด้วยนวัตกรรมทางการเงิน ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีผู้มาลงทะเบียนจำนวนทั้งสิ้น 14.1 ล้านคน แต่ผ่านคุณสมบัติผู้มีรายได้น้อยเพียง 11.4 ล้านคน กำหนดโดยกระทรวงการคลังซึ่งระบุว่า ต้องมีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท ในปี 2559 ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน หรือมีแต่รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000 บาท และไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย โดยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix-Method Research) แบ่งเป็น การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อจำแนกผู้มีรายได้น้อยออกเป็น 3 กลุ่ม และนำเสนอนวัตกรรมทางการเงินที่สอดคล้องกับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผลจากการวิจัยจำแนกกลุ่มผู้มีรายได้น้อยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือ 2. กลุ่มที่สามารถพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 3. กลุ่มที่มีศักยภาพและยกระดับให้พ้นจากการเป็นผู้มีรายได้น้อย นวัตกรรมทางการเงินสำหรับกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือคือ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยร้อยละ 0 ระยะเวลา 5 ปี และโครงการพัฒนาขีดความสามารถผ่านหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นวัตกรรมทางการเงินสำหรับกลุ่มที่สามารถพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คือ 1. โครงการสินเชื่อสวัสดิการแห่งรัฐระยะยาว 90 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปีตลอดโครงการ จะต้องผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเดือนละ 1,000 บาท และภาระหนี้จะเป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลาน ด้วยแนวคิดที่ว่า ผ่อนชำระหนี้เหมือนจ่ายค่าเช่าแต่ได้ที่ดินเป็นมรดกสู่ลูกหลาน และ 2. โครงการ Agricultural Platform 4.0 โดยหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมกับเอกชน พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไทย โดยให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าร่วมเป็นสมาชิกและใช้แพลตฟอร์มเพื่อการซื้อขายสินค้าเกษตรโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม นวัตกรรมทางการเงินสำหรับกลุ่มที่มีศักยภาพละยกระดับให้พ้นจากการเป็นผู้มีรายได้น้อยคือ 1. โครงการสินเชื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นสินเชื่อเพื่อสนับสนุนเงินลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรกลการเกษตร และพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรด้วยแพลตฟอร์มการเกษตร ระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี และ 2. โครงการ Agricultural Platform 4.0 โดยหน่วยงานภาครัฐ
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนา
ระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษา
เศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไทยรัฐออนไลน์. (2560). นโยบาย "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" สิทธิประโยชน์ "คนไทย" ครั้งแรก
มีบัตรก่อน ใช้สิทธิก่อน. สืบค้นสืบค้นจากhttps://www.thairath.co.th/
content/1086287
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). รายงานการ
วิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559.
สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th/social/Portals/0/PDF%20รายงานความ
ยากจนฯ%202559.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). เส้นความยากจน
(Poverty line) จำแนกตามภาคและเขตพื้นที่ ปี พ.ศ. 2531 - 2559 รายปี. สืบค้นจาก
http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=854
&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=59
Boltvinik, J. (1998). “Poverty Measurement Methods – an overview”, in SEPED
Series on Poverty Reduction, UNDP, New York.
World Bank. (2008). World Development Indicators 2008: Poverty Data.
Retrieved from http://siteresources.worldbank.org/DATASTATISTICS/
Resources/WDI08supplement1216.pdf
World Bank. (2015). Ending Extreme Poverty and Sharing Prosperity: Progress
and Policies. Policy Research Notes (PRNs). Retrieved from
http://pubdocs.worldbank.org/en/109701443800596288/
PRN03Oct2015TwinGoals.pdf