บทความที่ 4 : “นิเวศสื่อ” เพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

Main Article Content

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา
การดา ร่วมพุ่ม
มาโนช ชุ่มเมืองปัก

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. อธิบายความหมายและองค์ประกอบของระบบนิเวศสื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างนักวิชาการ บุคคลที่ดาเนินการด้านสื่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนที่สนใจ 2. อธิบายปรากฏการณ์ในระบบนิเวศสื่อและและวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้สื่อ ผู้ผลิตสื่อ กับปัจจัยแวดล้อมภายใต้ระบบนิเวศสื่อในช่วง พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2560 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ดังนี้ 


         1. การสังเคราะห์งานวิจัย บทความวิจัย และบทความวิชาการ บนฐานข้อมูลออนไลน์ในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 2551 – 2560) เลือกกลุ่มตัวอย่างจากคาสาคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศสื่อ ได้งานวิชาการที่ใช้ในการวิเคราะห์จานวน 273 เรื่อง 


          2. การสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสนทนากลุ่ม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตสื่อที่เป็นผู้ผลิตสื่อมืออาชีพกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับสื่อชุมชน สื่อวัฒนธรรม สื่อพื้นบ้าน และสื่อทางเลือกและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน ผู้สูงวัยและครอบครัว นอกจากนี้ยังสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้สร้างเนื้อหาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ไม่ใช่นักวิชาชีพอีกด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจงนับความถี่ 


ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การพิจารณาเนื้อหาแล้วสังเคราะห์ปริทัศน์แบบพรรณนา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผู้วิจัยนิยามความหมายของนิเวศสื่อว่า หมายถึง ระบบการสื่อสารที่มนุษย์ซึ่งเป็นทั้งผู้ใช้สื่อและผู้สร้างเนื้อหาผ่านสื่อ เป็นศูนย์กลางของระบบ ถูกแวดล้อมและมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยต่าง ๆ ประกอบด้วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับบุคคลอื่นที่แตกต่างกัน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเนื้อหา ช่องทางสื่อ และเทคโนโลยีการสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบต่าง ๆ ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง ระบบกฎหมายและการกากับดูแล รวมถึงระบบสังคม วัฒนธรรม และชุมชน ทั้งชุมชนบนโลกทางภายภาพและบนโลกไซเบอร์ 2. ปฏิสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างมนุษย์กับปัจจัยแวดล้อมในระบบนิเวศสื่อ ได้ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในระบบนิเวศสื่ออย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้เท่าทันสื่อและการมีส่วนร่วม ด้านการสร้างสรรค์สื่อ และด้านจริยธรรมและการกากับดูแลสื่อหากสามารถดาเนินการเพื่อให้เกิดสภาพพึงประสงค์หรือความสมดุลได้ในทั้ง 3 ด้าน ย่อมจะส่งผลดีต่อสังคมไทย 


ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นการวิจัยเพื่อการสนับสนุนให้เกิดสภาพที่ พึงประสงค์ในระบบนิเวศสื่อ ดังนี้ 1. การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความรู้และพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน 2.การวิจัยในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อและการมีส่วนร่วมเช่น การวิจัยที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของบุคคลในฐานะพลเมืองดิจิทัล (Digital citizenship) การวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือหรือกลไกช่วยป้องกันปัญหาจากการไม่รู้เท่าทันสื่อ 3. การวิจัยที่นาไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมทักษะวิชาชีพ ความรู้และการเพิ่มพูนศักยภาพของผู้สร้างสรรค์สื่อในทุกแพลตฟอร์ม 4.การวิจัยที่มุ่งศึกษาการส่งเสริมให้เกิดกลไกการกากับดูแลสื่อโดยประชาชนและการส่งเสริมการแข่งขันที่เสมอภาคและเป็นธรรมในอุตสาหกรรมสื่อภายใต้บริบทสื่อหลอมรวม 

Article Details

บท
บทความวิจัย