บทความที่ 3 : แนวทางการดูแลสุขภาพตนเองและให้บุคคลอื่นดูแลของผู้สูงอายุในตาบลหนองแหน อาเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

นภรภิสฏ์ ลัภกิตโร
นิลาวัลย์ สว่างรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางการดูแลสุขภาพตนเองและให้บุคคลอื่นดูแลของผู้สูงอายุในตาบลหนองแหน อาเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้สูงอายุ และการให้บุคคลอื่นดูแลผู้สูงอายุ ในตาบลหนองแหน อาเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อนาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาแนวทางการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน และเป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมผู้สูงอายุและอาศัยอยู่ในตาบลหนองแหน อาเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จานวน 300 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยปัจจัยทางชีวสังคม ได้แก่ เพศ การศึกษา รายได้ ที่มาของรายได้ โรคปะจาตัว ลักษณะการดาเนินชีวิตและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลอื่นเป็นผู้ดูแล และนามาทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบน 


ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางชีวสังคมของผู้สูงอายุ ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุระหว่าง 60-64 ปี มีสถานภาพสมรส และส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ โดยปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจด้านการรับประทานอาหารและโภชนาการพบว่า ผู้สูงอายุเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนมีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ด้านการออกกาลังกายพบว่าผู้สูงอายุมีการออกกาลังกายตอนเช้าหรือตอนเย็นวันละประมาณ 20-30 นาที ด้านการพักผ่อนนอนหลับ พบว่าผู้สูงอายุมีการสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน หรือทาสมาธิในห้องนอนที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และนอนหลับตอนกลางคืนวันละประมาณ 6-8 ชั่วโมง ด้านการป้องกันอุบัติเหตุพบว่าอุปกรณ์ ของใช้ภายในบ้านมีสภาพดีตามอายุการ ใช้งาน ผู้สูงอายุขึ้นบันไดโดยการเกาะราวบันไดด้วยความระมัดระวัง ในห้องน้าจะมี ราวสาหรับยึดเกาะ หรือมีที่กันลื่น เก็บของมีคมไว้ในที่ปลอดภัยและมิดชิด ด้านการหลีกเลี่ยงการเสพสารที่เป็นโทษพบว่า ผู้สูงอายุเคยมีพฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ในช่วงอายุก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันไม่มีการเสพสารดังกล่าวแล้ว 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพรรณ หอมนาน. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง การรับรู้ สมรรถภาพในตนเองกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการพยาบาล.
กรรนิการ์ พัฒนผดุงวิทยา. (2542). ความเชื่ออานาจควบคุมด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแล สุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวชิรพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาสุขศึกษา.
เตือนใจ เทียนทอง. (2546). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตการศึกษา 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์.
นพรัตน์ หนูบ้านยาง. (2540). การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสาเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาสุขศึกษา.
นฤภรณ์ ถิรภัทรพันธ์. (2545). ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เป็นตัวทานายพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตอาเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาจิตวิทยาชุมชน.
บุญทิพย์ ลิขิตพงษ์วิทย์. (2547). รายงานการวิจัย การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา เขตเทศบาลเมืองราชบุรี. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี สานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
เบญจมาศ นาควิจิตร. (2551). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสังกัดสานักการแพทย์.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สถาบันวิจัยและพฤติกรรมศาสตร์, สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์.
เบญจพร สวางศรี, และเสริมศิริ แตงงาม. (2556). การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อาเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(2), 128 137. ประภาพร จินันทุยา. (2536). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมทางสังคมผู้สูงอายุดินแดง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์.
พนิดา คุณาธรรม. (2538). ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาประชากรศึกษา.
ภัทรพร ไพเราะ. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. รจนารถ ร่วงลือ. (2536). การปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมือง ราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น,สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน.
ราภรณ์ ทิณเกิด. (2545). ศึกษาการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา.
วิริยา สุขวงศ์. (2545). ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาสุขศึกษา.
วิริยา สุขวงศ์. (2545). ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร.(ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาสุขศึกษา.
สมคิด โพธิ์ชนะพันธุ์ และคณะ. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยมหิดล, 2(1), 88 96. ธนายุส ธนธิติ และคณะ. (2558). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตาบลบางเตย อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(3), 57 72.
อรพรรณ อิศราภรณ์. (2536). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในเทศบาลเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย,สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์.
อัสรา อาวรณ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมและปัจจัยทางชีวสังคมกับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสังกัดสานักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาสุขศึกษา.
Barerra, M. (1986). Distinctions between social support concepts, measures, and models. American Journal of Community Psychology, 14, 413 445.
Campbell, A. (1976). Subjective measure of well being. Americanpsychologist, 31,
117 – 124.
Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An
introduction to theory and research. Menlo Park, CA: Addison Wesley.
Becker, M. H. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354 385.
Orem, D. E. (1991). Nursing: Concepts of Practice (4th ed.) St. Louis, Mo: Mosby Year Book.
Pender, N. J. (1982). Health promotion in nursing practice. Norwalk, CT: Appleton & Lange.
Schaefer, C., Coyne, J., & Lazarus, R. S. (1981). The Health – RelatedFunctions of Social Support. Journal of Behavioral Medicin, 4, 381 – 401.