บทความที่ 3 : เจตนาในการสื่อสารที่สะท้อนผ่านถ้อยคำในสติกเกอร์ไลน์ภาษาไทยที่มีลักษณะเหนือหน่วยเสียงด้านทำนองเสียงที่มีลักษณะทำนองเสียงขึ้น

Main Article Content

จอมขวัญ สุทธินนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องเจตนาในการสื่อสารที่สะท้อนผ่านถ้อยคำในสติกเกอร์ไลน์


ภาษาไทยที่มีลักษณะเหนือหน่วยเสียงด้านทำนองเสียงที่มีลักษณะทำนองเสียงขึ้นฉบับนี้


มุ่งนำเสนอผลการวิเคราะห์เจตนาในการสื่อสารที่สะท้อนผ่านถ้อยคำในสติกเกอร์ไลน์


ภาษาไทยที่มีลักษณะเหนือหน่วยเสียงด้านทำนองเสียงที่มีลักษณะทำนองเสียงขึ้น


โดยรวบรวมชุดสติกเกอร์ไลน์ภาษาไทยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 กระทั่งครบ


จำนวน 20 ชุด มีสติกเกอร์ไลน์ภาษาไทยรวม 752 อัน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิด


ลักษณะเหนือหน่วยเสียงว่าด้วยเรื่องทำนองเสียงแบบทำนองเสียงขึ้น ได้สติกเกอร์ไลน์


ภาษาไทยที่มีลักษณะทำนองเสียงขึ้นจำนวนทั้งสิ้น 189 อัน นำกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมา


วิเคราะห์เจตนาในการสื่อสารตามแนวคิดชนิดของประโยคที่แบ่งตามเจตนา พบถ้อยคำใน


สติกเกอร์ไลน์ภาษาไทยที่มีทำนองเสียงขึ้นที่แสดงเจตนาบอกให้ทราบมากที่สุด เนื่องจาก


ธรรมชาติของภาษาพูดในการบอกเล่าในภาษาไทยมักใช้คำลงท้ายที่มีทำนองเสียงขึ้น ทั้งคำลง


ท้ายแสดงทัศนภาวะ ได้แก่ ละ นะ ซิ และคำลงท้ายแสดงมารยาท ได้แก่ ครับ คะ อีกทั้ง


LINE เป็นช่องทางการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ เหมาะสำหรับการส่งสารที่เป็นการทักทาย


หรือส่งถ้อยคำเพื่อการปฏิสัมพันธ์ทั่วไป นอกจากนี้ พบถ้อยคำในสติกเกอร์ไลน์ภาษาไทยที่มี


ทำนองเสียงขึ้นที่แสดงเจตนาถามรองลงมา เนื่องจากธรรมชาติของภาษาพูดในการถามใน


ภาษาไทยมักใช้คำลงท้ายที่มีทำนองเสียงขึ้น ได้แก่ มั้ย ซึ่งสัมพันธ์กับประโยคคำถามใน


ภาษาอังกฤษที่มักมีทิศทางเสียงลักษณะสูงขึ้นในตอนท้ายของประโยค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา นาคสุวรรณ. (2556). ระบบเสียงภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โครงการ
เผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานินทร์ คงอินทร์. (2551). การแปลของทำนองเสียงในประโยคคำถามภาษาไทย. วารสาร
ศิลปศาสตร์, 8(1), 57-78.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ
ชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สถาบันภาษาไทย. (2552). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยค และ
สัมพันธสาร: วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนัก
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล และกัลยารัตน์ ฐิติกานต์นารา. (2549). การเน้นพยางค์กับทำนอง
เสียงภาษาไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 24(2), 59-76.
Gigolo. (2559). ชัดเจน!!! LINE ขึ้นอันดับหนึ่งช่องทางสื่อสารผู้บริโภค. สืบค้นจาก
https://www.marketingoops.com/reports/m-data/line-leader-channelcommunication-
online/
LINE STORE. (2562ก). Alro boy. สืบค้นจาก https://store.line.me/stickershop/
product/6781747/en
LINE STORE. (2562ข). Antny. สืบค้นจาก https://store.line.me/stickershop/
product/4951078/en
LINE STORE. (2562ค). Auongrom baby pig. สืบค้นจาก https://store.line.me/
stickershop/product/3111559/en
LINE STORE. (2562ง). Auongrom nong bina. สืบค้นจาก https://store.line.me/
stickershop/product/3079816/en
LINE STORE. (2562จ). Baozi sung & Baozi sung couple. สืบค้นจาก https:/ /
store.line.me/stickershop/product/1397527/en
LINE STORE. ( 2 5 6 2 ฉ ) . BNK48 gogo Cherprang’ s school life. ส ืบ ค ้นจ า ก
https://store.line.me/stickershop/product/4761371/en
LINE STORE. (2562ช). Circle dukdik pig. สืบค้นจาก https:/ / store.line.me/
stickershop/product/5875230/en
LINE STORE. (2563). บัญชีทางการ: หมวดหมู่. สืบค้นจาก https://store.line.me/
officialaccount/list/top/th?from=eventlist
saline tintumrong. (2562). LINE ประเทศไทยเผยความสำเร็จธุรกิจสติกเกอร์เติบโตสูง
อันดับ 1 ในภูมิภาค. สืบค้นจาก https://www.beartai.com/news/promotionnews/
305869