ความเป็นหญิงในนวนิยายเรื่องนารีนครา

Main Article Content

พรสวรรค์ เฉลิมยานนท์
จอมขวัญ สุทธินนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์ความเป็นหญิงในนวนิยาย
เรื่อง นารีนครา (ทา-เตอ-เฉิง) ซึ่งเป็นวรรณกรรมจีน ประพันธ์โดยฉือลี่ และเป็นพระราชนิพนธ์แปลใน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตามแนวคิดเรื่องบทบาทของผู้หญิงตามแนวคิดสตรีนิยมสายวัฒนธรรม
(สุกัญญา อินต๊ะโดด, 2550) จากบทบรรยายและบทสนทนาของตัวละครเอกหญิง นำเสนอในรูปแบบ
พรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประพันธ์นำเสนอความเป็นหญิงของตัวละครเอก โดยนำ
คุณลักษณะต่าง ๆ มาประกอบสร้างขึ้น แล้วนำเสนอความเป็นหญิงในบทบาทต่าง ๆ ทั้งบทบาท
ความเป็นมารดาที่เป็นทั้งผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดู และบทบาทของภรรยา


นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของสตรีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของตนเอง
ให้มีความเสมอภาคกับผู้ชาย ยกย่องสตรีในฐานะเพื่อนคู่คิดของสามี ความเสมอภาคนี้ สะท้อนจาก
อาชีพของตัวละครเอกที่มีส่วนช่วยหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งความเป็นหญิงในด้านอาชีพนี้ เกิดจากการ
ได้รับการศึกษาที่ดี ทำให้สตรีสามารถพึ่งพาตนเอง และมีอิสระในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ความเป็น
หญิงยังถูกเชื่อมโยงกับค่านิยม ขนบประเพณี สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมแบบเก่าและค่านิยมแบบใหม่
ในสังคมผนวกเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นภาพความหญิงที่มีทั้งความอ่อนโยนและเข้มแข็งทางด้านจิตใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย