ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิฆเนศวร ทะกอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสาวนีย์ วรรณประภา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภารดี พึ่งสำราญ
อาจารย์สมพงษ์ เส้งมณีย์
อาจารย์กาญจนา สมพื้น
อาจารย์สกล กิจจริต

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษา
ระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ประจำปีการศึกษา 2560 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตร
นิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ชั้นปีที่ 1 2 3 รวมจำนวนทั้งสิ้น 161 คน
ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 161 ฉบับ คิดเป็นร้อยละคิดเป็นร้อยละ100 เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ประกอบด้วยข้อคำถาม
ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านคุณภาพของหลักสูตร 2. ด้านคุณภาพอาจารย์ผู้สอน 3. ด้านคุณภาพ
อาจารย์ที่ปรึกษา 4. ด้านการจัดการเรียนการสอน 5. ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
และ 6. ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ด้วยมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับโดยผ่านการทดสอบด้วย
ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก ด้วยค่า 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการวิจัยพบว่า


ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี


1. ด้านคุณภาพของหลักสูตร มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
2. ด้านคุณภาพอาจารย์ผู้สอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


3. ด้านคุณภาพอาจารย์ที่ปรึกษา
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


4. ด้านการจัดการเรียนการสอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


5. ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ


6. ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนเรื่องร้องเรียน นักศึกษาไม่มีข้อร้องเรียน เมื่อเทียบ
รายด้านการจัดการศึกษา พบว่าด้านคุณภาพอาจารย์ผู้สอน มีความพึงพอใจมากกว่าด้านอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2521). คู่มือการใช้หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521.
กรุงเทพมหานคร: ยูไนเต็ดโปรดั๊กชั่น.
กาญจนา เกียรติประวัติ. (2534). วิธีสอนทั่วไปและทักษะการสอน. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.
มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะศึกษาศาสตร์. (2550). รายงานประจำ ปี 2550. พิจิตร: โรงพิมพ์ดวงดี.
ธีระศักดิ์ อัครบวร. (2545). ความเป็นครูไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์.
นฤมาน นายะสุนทรกุล. (2545). ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนสาขาเลขานุการ
ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี. (สารนิพนธ์).
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาวิชาเอกธุรกิจศึกษา.
บัญชา แสนทวี. (2542). การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน. นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พันธ์ดี ทับทิม และคณะ. (2549). การประเมินความพึงพอใจการบริการและความต้องการ
ทรัพยากรสารสนเทศห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเองคณะศึกษาศาสตร์ของนิสิต
มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัตนา พรมภาพ. (2551). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร
ของภาควิชาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2550.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะศึกษาศาสตร์, ภาควิชาการศึกษา.
วรรณภา โพธิ์ศรี. (2546). การพัฒนากระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเครือข่าย
การบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตการศึกษา 7. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัย
นเรศวร.
สมชาย บุญสุ่น. (2554). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
อัญชลี พริ้มพราย และคณะ. (2548). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพการสอนและ
ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครศรีธรรมราช.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2540). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.