การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง “นี่อะไร” สำหรับผู้เรียนชาวจีน ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ปีการศึกษา 2560-2561

Main Article Content

จอมขวัญ สุทธินนท์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มุ่งนำเสนอประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีนเรื่อง
“นี่อะไร” ของผู้เขียนซึ่งเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
หาดใหญ่ ผนวกกับการศึกษาค้นคว้าประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน
ของผู้สอนอื่น ๆ โดยจำแนกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1. การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เรียน
ชาวจีน โดยประยุกต์ตามแนวคิดการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ซึ่งสะท้อนให้เห็น
พฤติกรรมของผู้เรียนชาวจีนได้รอบด้าน 2. สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียน
ชาวจีน พบว่าในมุมมองของผู้สอนมี 2 รูปแบบ คือ หลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรระยะยาว
ส่วนในมุมมองของผู้เรียนเห็นว่าเป็นการสอนแบบบรรยายและมุ่งให้ฝึกปฏิบัติ ได้ความรู้ด้านภาษา
ควบคู่กับความรู้ด้านวัฒนธรรม 3. วิธีการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน พบว่า
ควรเน้นเรื่องการสอนออกเสียง โดยใช้สื่อหลากหลาย พร้อมกับการเน้นย้ำการสอนในบริบทที่
เหมาะสม 4. ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน พบว่ามีผู้ปัญหาด้านการ
ออกเสียง และ 5. แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน
พบว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้หลากหลายแนวทาง ไม่ว่าจะเน้นการทดสอบพื้นความรู้ เน้นการจัด
การเรียนการสอนเพื่อปรับพื้นความรู้ และการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนเดินทางมาศึกษา
ยังประเทศไทย รวมถึงควรประเมินคุณภาพอย่างเข้มงวดและมีระบบที่ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษิต ภิรมย์. (2553). ไทยระบุความสัมพันธ์ไทย-จีนเป็นความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ. สืบค้นจาก
https://thai.cri.cn
นวลทิพย์ เพิ่มเกสร. (2551). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาต่างประเทศ. วรรณนิทัศน์, 1(8). 146-159.
นิสา ศักดิ์เดชยนต์,ยุพา ส่ง ศิริ และ ใจเอื้อ บรูณะสมบัติ. (2526). ภาษาศาสตรสตร์สำหรับครู
กรุง เทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิชานัน เพ็งลี. (2553). แบบเรียนสนทนาภาษาไทยสำหรับเด็กชาวต่างชาติระดับประถมศึกษา.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาวิชาการสอน
ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ.
วิมลรัตน์ จตุรานนท์, และ สุนทร บำเรอราช. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อ
ความเข้าใจ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติ ยูนนาน ตามแนวการสอนแบบ ACTIVE
Reading และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม,
8(2), 48-58.
ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. เชียงใหม่:
ศูนย์ไทยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2548). การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์,
5, 215-261.
สุรีย์วรรณ เสถียรสุคนธ์. (2554). การสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาชาวจีน: สภาพ ปัญหา และแนวทาง
การแก้ไข. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1), 127-140.
เสาวนีย์ ดำรงโรจน์กุล, และ สุภา พูนผล. (2560). ปัญหาการออกเสียงและการจัดการเรียนการสอน
ภาษาไทยให้นักศึกษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 31-40.
สือ กว่างเซิง. (2553). สุนทรพจน์นายกสมาคมมิตรภาพจีน-ไทยเพื่อฉลอง 35 ปีความสัมพันธ์ทาง
การทูตจีน-ไทย. สืบค้นจาก https://thai.cri.cn
Anderson, L., & Krathwohl, D. A. (2001). Taxonomy for learning, teaching and
assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York:
Longman.
Bloom, B. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill
Book.