ตราสินค้าผู้บริหารระดับสูง: แนวคิดและกรณีศึกษา

Main Article Content

ดุษฎี นิลดำ
นภาภักดิ์ จักษุบท

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงแนวคิดเรื่อง การนำผู้บริหารระดับสูง (Chief
Executive Officer: CEO) มาใช้เพื่อสร้างตราสินค้าผู้บริหารระดับสูง (CEO Branding) ซึ่งเป็น
อีกแนวหนึ่งที่บริษัทชั้นนำนิยมใช้ ควบคู่ไปกับการสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าให้กับ
องค์กร รวมถึงองค์ประกอบของแนวคิดเรื่องส่วนผสมของตราสินค้าของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
(The CEO Branding Mix) ซึ่งประกอบด้วย 1. ภาพลักษณ์ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร (CEO
Image) และ 2. ความมีชื่อเสียงของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร (CEO Reputation) โดย
ภาพลักษณ์ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร (CEO Image) ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านบุคลิกภาพ
ของ CEO (CEO Personality) และองค์ประกอบด้านคุณลักษณะด้านรูปลักษณ์ของ CEO
(CEO Persona) ขณะที่ความมีชื่อเสียงของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร (CEO Reputation)


ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านศักดิ์ศรีของ CEO (CEO Prestige) และองค์ประกอบด้านประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของ CEO (CEO Performance) ทั้งนี้ ส่วนผสมของตราสินค้าของผู้บริหารระดับสูง
ขององค์กรจะส่งผลประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร ทั้งมิติด้านการเงินและมิติด้านอื่น ๆ
ขององค์กร พร้อมทั้งยกกรณีศึกษา คุณตัน ภาสกรนที CEO บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
เพื่ออภิปรายให้เข้าใจถึงแนวคิดดังกล่าวอย่างชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา. (2557). CEO–Branding. สืบค้นจาก https://web. facebook.com/
notes/kulachatr-chatrakul-na-ayudhya/ceo-branding/837967152889998/?_
rdc=1&_rdr
ชนารัญช์ ขันติสิทธ์. (2557). ภาพลักษณ์ขององค์กรและภาพลักษณ์ของผู้น?ำที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึง
เกณฑ์การตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มชาเขียวอิชิตัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
กรุงเทพ, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.
ณัชชา เพ็ชร์ไทย. (2553). การนำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ และเรื่องราวของผู้บริหารระดับสูง
(CEO) ในหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์.
ดุษฎี นิลด?ำ. (2560). การพัฒนากรอบแนวคิดและมาตรวัดความผูกพันต่อตราสินค้าของผู้บริโภค
เพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารการตลาด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิตย์, สาขาวิชานิเทศศาสตร์.
ปภาภรณ์ ไชยหาญชาญชัย, และ สราวุธ อนันตชาติ. (2555). การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน:
การทบทวนความหมาย หลักการ และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการน?ำไปปฏิบัติใช้. วารสาร
การประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 5(2), 131-161.
พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2548). CEO PR & IMAGE. กรุงเทพฯ: ฐานมีเดีย เน็ตเวิร์ค.
ยาดา บูรพาแสงสูรย์. (2557). กลยุทธ์การตลาด การสร้างตราสินค้าบุคคล และการสื่อสารการตลาด
แบบบูรณาการ เพื่อสร้างความเป็นผู้นำทางการตลาด: กรณีศึกษา ตัน ภาสกรนที และ
ชาเขียวอิชิตัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สาขาวิชาการ
บริหารสื่อสารมวลชน.
รุจิพัชร์ เรืองธารีพงศ์. (2549). อิทธิพลของภาพลักษณ์ของผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อภาพลักษณ์
ของตราสินค้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาการ
ประชาสัมพันธ์.
Duncan, T., & Moriarty, S. (1997). Driving brand value: Using integrated marketing to
manage profitable stakeholder relationships. NY: McGraw-Hill.
Fetscherin, M. (2015). CEO branding: Theory and practice. NY: Routledge.
MThai. (ม.ป.ป.). ประวัติ คุณตัน ภาสกรนที สุดยอดบุคคลตัวอย่างของวงการธุรกิจ. สืบค้นจาก
https://people.mthai.com/other/3491.html/