การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา ส 30233 เพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning)

Main Article Content

เพ็ญนภา สีสุกอง
นิลมณี พิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning)   2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว (One – Shot Case Study)


       กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ห้องเรียนที่ 4โรงเรียนอุบลรัตน์พิทยาคม อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) จำนวน 8 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ


          ผลการวิจัย


  1. การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่าจำนวนนักเรียนทั้งหมด 34 คน มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 26 คน คิดเป็นร้อยละ 76.47 และนักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.02 จากคะแนนเต็ม 20 คิดเป็นร้อยละ 70.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ70 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป

  1. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า จำนวนนักเรียนทั้งหมด 34 คน มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 28 คน คิดเป็นร้อยละ 82.35 และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป

Article Details

How to Cite
[1]
สีสุกอง เ. และ พิทักษ์ น., “การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา ส 30233 เพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning)”, EDGKKUJ, ปี 12, ฉบับที่ 4, น. 55–62, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย (Research article)

References

จิราภรณ์ ศิริทวี. (2542). โครงงานทางเลือกใหม่ของการสร้างปัญญาชน. วารสารวิชาการ, 2(8), 33 – 38.
ฐิตารีย์ ศรีพรหม. (2556). การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานโดยกระบวนการ Lesson Study เรื่องประเด็นปัญหาสังคมกลุ่มประชาคมอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดารานี อุดชา. ( 2555). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อยู่อย่างพอเพียง รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การสอนแบบโครงงานร่วมกับรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5Es). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2556). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง : Civic Education.กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
เพ็ญนภา แสงโสดา. (2554).การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5. รายงานการศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2551). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการ.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2543). โครงงานเพื่อการเรียนรู้ หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 . กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). เอกสารประกอบการอบรมวิทยากรแกนนำในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุมาลี สร้างคำ. (2554).ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้โครงงาน สำหรับนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิทย์ คำมูล. (2547). กลยุทธ์การสอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). เอกสารประกอบการอบรมวิทยากรแกนนำในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ:สำนักนายกรัฐมนตรี.