Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

การเตรียมต้นฉบับบทความ

1.  ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทย องค์ประกอบต่าง ๆ ของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้จัดทำตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับนี้  การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และชื่อบัญญัติตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยโดยไม่จำเป็น  กรณีจำเป็นให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยในวงเล็บภาษาอังกฤษ โดยคำแรกให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนอักษรและคำที่เหลือทั้งหมดให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะทุกคำให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ การปรากฏอยู่หลายที่ในบทความของศัพท์คำเดียวกันที่เป็นภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษให้ใช้คำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษเฉพาะครั้งแรก ครั้งต่อไปใช้เฉพาะคำศัพท์ภาษาไทยเท่านั้น 

2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word ระยะบรรทัดเดี่ยว โดยจัดหน้ากระดาษ ขนาด A 4  (8.5 x 11 นิ้ว) ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน ด้านละ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้า

3.  รูปแบบตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้แบบ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ขนาดตัวอักษร ดังนี้ ชื่อเรื่องตัวหนาขนาด 17 pt. ชื่อผู้เขียนบทความและหัวข้อหลักใช้ขนาดอักษร 14 pt.  ตัวปกติ รายละเอียดผู้เขียนชื่อตำแหน่งทางวิชาการของผู้เขียนบทความใช้ขนาดอักษร 12 pt. ตัวปกติ หัวข้อหลักใช้ขนาดอักษร 14 pt. ตัวหนา เนื้อความทุกส่วนใช้ขนาดอักษร 14 pt. ตัวปกติ  เชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นเบอร์โทรศัพท์ และ E-mail address ใช้ขนาดตัวอักษร 12 pt. ตัวปกติ

4.  จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่เกิน 10 หน้า (รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง) มีจำนวนคำไม่เกิน 10,000 คำ ใช้กระดาษขนาด A4 ปรับเค้าโครงขนาดกระดาษ รูปแบบหน้าเป็น 2 คอลัมน์

5.  ตาราง รูปภาพ ภาพลายเส้น แผนภูมิ และกราฟ (Tables, Pictures, Figures, Diagrams and Graphs) ให้แทรกไว้ในเนื้อเรื่องอาจจัดทำเป็นขาวดำหรือสีใดก็ได้ โดยให้ผู้เขียนบทความคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เรียงลำดับให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ชื่อตารางให้อยู่ด้านบนของตาราง ส่วนชื่อรูปภาพ แผนภูมิ และกราฟให้อยู่ด้านล่างพร้อมทั้งคำอธิบายสั้น ๆ ที่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน ส่วนไฟล์รูปภาพให้แยกไฟล์ต่างหากจากต้นฉบับเพิ่มเติมจากที่แทรกในบทความ โดยให้แนบเป็นไฟล์สกุล .jpg เป็นต้น

6. เอกสารอ้างอิง มีรายละเอียดตามที่กำหนด ดังนี้

ให้นำปีที่พิมพ์ลงไว้หลังชื่อผู้แต่งและใส่ไว้ในวงเล็บ  ดังตัวอย่าง

6.1 ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//พิมพ์ครั้งที่.//สถานที่พิมพ์://สำนักพิมพ์.

6.2 ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์, เดือน).//ชื่อบทความ,//ชื่อวารสาร.//ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่)/;/เลขหน้า.

6.3 ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ระดับวิทยานิพนธ์.//ชื่อเมือง : ชื่อมหาวิทยาลัย.

6.4   การเขียนเอกสารอ้างอิงให้เขียนตามแบบ APA (American Psychological Association) ดังนี้

1)   การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ 

การอ้างอิงในเนื้อหาของบทความให้วงเล็บชื่อผู้แต่ง (สำหรับคนไทย) หรือชื่อสกุล (สำหรับชาวต่างประเทศ) หรือชื่อนิติบุคคลที่เป็นผู้จัดทำเอกสาร และปีพิมพ์ของเอกสารที่อ้างถึงนำหน้าหรือต่อท้ายข้อความที่อ้าง         ดังตัวอย่าง

มัทนา  หาญวิทย์ และอุษา ทิศยากร (2535) กล่าวว่า.......... หรือ

(มัทนา หาญวิทย์ และอุษา ทิศยากร, 2535)

Miller (1993)  กล่าวว่า................... หรือ (Miller, 1993)

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

                โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติมีเป้าหมายที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีศักยภาพในระดับโลก จำนวน 7-10 แห่งที่สามารถสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพ ประการที่ 2 เพื่อให้เกิดกลุ่มวิจัยที่ผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่สามารถนำผลงานไปใช้ในภาคการผลิต ช่วยสร้างรายได้สู่ชุมชน และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการส่งเสริมการส่งออกและทดแทนการนำเข้า จากเป้าหมายดังกล่าวได้มีการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยของไทยออกเป็น 4 กลุ่มและมีบทบาท ดังนี้ (Pitiyanuwatna, 2006)  หรือ

                Pitiyanuwatna (2006) ได้กล่าวถึงโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติมีเป้าหมายที่สำคัญ 2  ประการ ได้แก่ ประการแรก ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีศักยภาพในระดับโลกจำนวน 7-10 แห่งที่สามารถสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพ ประการที่ 2 เพื่อให้เกิดกลุ่มวิจัยที่ผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่สามารถนำผลงานไปใช้ในภาคการผลิต ช่วยสร้างรายได้สู่ชุมชน และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการส่งเสริมการส่งออกและทดแทนการนำเข้าจากเป้าหมายดังกล่าวได้มีการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยของไทยออกเป็น 4 กลุ่มและมีบทบาท ดังนี้

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงท้ายบทความ

Pitiyanuwatna, S. (2006).  External evaluation of higher education institutions: 

       Lecture notes at Chulalongkorn University on April 12, 2006. (In thai). 

       Retrieved December 24, 2009, from https://www.cu- qa.chula.ac.th/ News/qa.chula.ac.th/News/12-4-2006-2.ppt.

2)   การอ้างอิงท้ายบทความ 

ให้เขียนรายการเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ แล้วจัดเรียงลำดับรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความตามลำดับอักษรชื่อสกุลของผู้แต่ง หรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง หากเอกสารที่อ้างอิงไม่ได้เขียนด้วยภาษาอังกฤษ ให้แปลความหมายของชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ และวงเล็บท้ายชื่อเรื่องของเอกสารนั้นว่าต้นฉบับเป็นภาษาใด เช่น ระบุว่า (In Thai) ดังตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงดังนี้     

1.1     หนังสือ

ชื่อสกุลผู้แต่ง,//ชื่อย่อ.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์://

           สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

มัทนา//หาญวิทย์ และอุษา//ทิศยากร.//(2535).//เอดส์ การดูแลรักษา.//พิมพ์ครั้งที่ 2.//

           กรุงเทพฯ://ดีไซร์.

ชุติมา//วงษ์พระลับ.//(2549).//ความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

              โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) ได้รับ

              การจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการ.//วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา

          ศาสตรมหาบัณฑิต/สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน/บัณฑิตวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Fang, J. R, Stueart, R. D., & Tuamsuk, K., eds. (1995).  World Guide

             to Library, Archive and Information Science Education. 

             IFLA Publications 72/73. Munich: K.G. Saur.

Lorsuwannarat, T.  (2006).  Learning organization: From the

             concepts to practices.  (In Thai).  3d ed.  Bangkok: Ratanatri.

1.2 บทความในวารสาร

Miller,/K.M.//(1993).//Unsuspected glove perforation ophthalmic

         surgegy.//Arch Ophthalmol,    111/(2),//186/-/193.

เกริกเกียรติ//พิพัฒน์เสรีธรรม.//(2549).//แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย.//

            วารสารราชบัณฑิตยสถาน,/ 31/(4),/1104/-/1136.  

1.3 บทความในหนังสือพิมพ์

อานันท์//ปันยารชุน.//(2541,/29 มีนาคม/-/1/เมษายน).//ธรรมรัฐ/(Good governance)/กับอนาคต

          ประเทศไทย.  ฐานเศรษฐกิจ,/หน้า/9.

ปรียานุช//พิบูลสราวุธ.//(2549).//ทฤษฎีความพอเพียงกับการบริหารทรัพยากรบุคคล.//ค้นเมื่อ/30/

          สิงหาคม/2550,/จาก https://www.sufficiencyeconomy.org

1.4     บทความหรือเรื่องจากเว็บไซต์

ชื่อสกุลผู้แต่ง,/ชื่อย่อ.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//Retrieved/วัน/เดือน/ปีที่สืบค้น,/from

          ระบุ URL ของเว็บไซต์

Bontas, E. P. (2005). Practical experiences in building Ontology-based retrieval systems.

Retrieved 20 January  2010, from https://userpage.fu-berlin.de/~paslaru/

           papers/swcase2005.pdf.

Koanantakool, T.  (1999).  Getting ready for the new Millennium: What are the Thai

Government’s actions toward the year 2000?. Retrieved August 20, 1999, from

           https://www.nectec.or.th/it-projects/

หมายเหตุ      /       หมายถึง  ให้เว้นวรรค (เคาะ)  1  ครั้ง     และ  หลัง  ,  เคาะ 1 ครั้ง  หลัง  :  เคาะ 2 ครั้ง

                   //  หมายถึง  ให้เว้นวรรค (เคาะ)  2  ครั้ง          หลัง  .  เคาะ 2 ครั้ง

                  เครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับการเว้นวรรคตอน เช่น  :   ;   .   , พิมพ์ติดตัวอักษร แล้วจึงเว้นวรรค

                 การพิมพ์ข้อความ เช่น ธรรมรัฐ/(Good governance)/กับอนาคตประเทศไทย

           

6. ตารางและภาพประกอบ (Tables and Illustration) จัดเรียงตามลำดับหรือหมายเลขที่อ้างถึงในบทความ โดยวิธีเขียนควรระบุชื่อตารางไว้บนหัวตาราง และระบุชื่อภาพไว้ใต้ภาพนั้น ๆ

7.  ผลงานวิชาการที่ส่งมาต้องไม่ได้รับการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณากับวารสารฉบับอื่น

8. การส่งต้นฉบับ ให้ผู้เขียนบทความส่งต้นฉบับที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ หรือที่ [email protected] สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่วารสารศึกษาศาสตร์ ฝ่ายวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร. 043-343-453 ต่อ 101/ 043-202-854 โทรสาร 0-4334-3454

 

การเรียงลำดับเนื้อหา

1.    ส่วนหัวบทความ (Headers article) ประกอบด้วย

1.1  ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้น ชัดเจน และต้องสื่อเป้าหมายหลักของการศึกษาวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

1.2  ชื่อผู้เขียน (Authors) และชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา (ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลโดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ หรือตำแหน่งทางวิชาการ ทั้งนี้ให้กำหนดตัวเลขแบบตัวยกต่อท้ายนามสกุล

1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน (Author Affiliation) สำหรับนักศึกษาให้ระบุระดับการศึกษา หลักสูตร และสาขาที่กำลังศึกษา/สำหรับการศึกษา ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษา (ที่ร่วมเขียน) ให้ระบุตำแหน่งทางวิชาการ สาขาวิชาที่สังกัด และสถานที่ทำงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

1.3 บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (บทคัดย่อที่เขียนควรเป็นแบบ Informative Abstract) ควรเป็นเนื้อหาที่สั้น ชัดเจนและเข้าใจง่าย โดยรวมเหตุผลในการศึกษาวิจัย อุปกรณ์ วิธีการ ตลอดจนผลการศึกษาและสรุปด้วย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 350 คำ และให้ระบุคำสำคัญ (keywords) ไว้ท้ายบทคัดย่อแต่ละภาษาด้วย (บทความปริทัศน์อาจไม่ต้องมีบทคัดย่อ)

1.4  คำสำคัญ (Keywords) กำหนดคำสำคัญที่เหมาะสมในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละไม่เกิน 3 คำ

1.5  หมายเลขโทรศัพท์ และ E-mail Address ของผู้เขียน ระบุรายละเอียดไว้ในเชิงอรรถ (Footnote)

2.    ส่วนเนื้อหา (Body of The Context) ประกอบด้วย

2.1 ความเป็นมาความสำคัญของปัญหาและเหตุผลที่นำไปสู่การศึกษาวิจัย อาจรวมการตรวจเอกสาร (Review of Literature) และวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยไว้ด้วย

2.2  คำถามการวิจัย (ถ้ามี)

2.3  สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

2.4 นิยามศัพท์เฉพาะ (ถ้ามี)

2.5 วิธีดำเนินการวิจัย

วิธีวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) อธิบายวิธีการดำเนินการวิจัยดังนี้

1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย

2) รูปแบบการวิจัย

3) ตัวแปรที่ศึกษา

4) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

5) การเก็บรวบรวมข้อมูล

6) การวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งสอดคล้องตามการวิจัยแต่ละเรื่อง

2.6 สรุปและอภิปรายผลการวิจัย

2.7 ข้อเสนอแนะ โดยแยกหัวข้อย่อย ดังนี้

        1) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

        2) ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

2.8 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่ช่วยเหลือในงานวิจัย แต่ไม่ได้เป็นผู้ร่วมงานวิจัย

2.9 เอกสารอ้างอิง (References)

1)  ในเนื้อเรื่อง ไม่ควรอ้างอิงถึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือห่างไกล ระบบที่ใช้อ้างอิงคือ ระบบ ชื่อ และปี (Name-and-year System) ในเอกสารภาษาไทย ให้ใช้ชื่อตัวและปี พ.ศ. เช่น สมชาย (2545) รายงานว่า…หรือ…(สมชาย, 2545) หากมีผู้เขียน 2 คน ให้ใช้เป็น สมชาย และสมหญิง (2547) รายงานว่า…หรือ…(สมชาย และสมหญิง, 2547) และถ้ามีผู้เขียนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ให้ใช้ ชื่อคนแรกแล้วตามด้วยคำว่า และคณะ เช่น สมชาย และคณะ (2546) รายงานว่า…หรือ…(สมชาย และคณะ, 2546) ในกรณีเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อสกุลและปี ค.ศ. เช่น Johny (2003)… หรือ…(Johny, 2003) ถ้าผู้เขียนมี 2 คน ให้ใช้เป็น Johny and Walker (2004) …หรือ…(Johny and Walker, 2004) หากมีมากกว่า 3 คน ให้ใช้เป็น Johny et al. (2005)…หรือ…(Johny et al., 2005) สำหรับในบัญชีเอกสารอ้างอิง ให้ใส่ชื่อผู้เขียนทุกคน   ห้ามใช้คำว่า และคณะ หรือ et al.

2)  ในบัญชีเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ให้เรียงลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ โดยเรียง ตามลำดับอักษรในแต่ละภาษา