การพัฒนาชุดรายวิชาออนไลน์แบบเปิดขนาดใหญ่สำหรับครูและผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี

ผู้แต่ง

  • วิลาศ วูวงศ์ สวนเด็กสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคราม และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
  • เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย สวนเด็กสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคราม และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
  • ชุติพร อนุตริยะ สวนเด็กสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคราม และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

คำสำคัญ:

การพัฒนาครู, เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี, สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย, รายวิชาออนไลน์แบบเปิดขนาดใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ยกระดับทักษะและเพิ่มทักษะใหม่ให้กับครูและผู้ดูแลของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการสร้างรายวิชาออนไลน์แบบเปิดขนาดใหญ่ (Massive Open Online Course, MOOC) 2. ประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่สร้างขึ้นในการพัฒนา
ครูและผู้ดูแลของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 3. ประเมินประสิทธิภาพของการสอนการอบรมออนไลน์แบบเปิดขนาดใหญ่ (MOOC) กลุ่มเป้าหมายหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ครูและผู้ดูแลของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาดำเนินการใน 3 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ ด้านปฏิกิริยา และด้านทัศนคติ ส่วนการประเมินประสิทธิภาพของการสอนการอบรมออนไลน์แบบเปิดขนาดใหญ่นั้นดำเนินการโดยการเก็บข้อมูลการเข้าเรียนของผู้เรียนบนระบบ MOOC เพื่อวิเคราะห์การเข้าชมคลิปวิดีโอของผู้เรียน เนื่องจากคลิปวิดีโอเป็นสื่อที่สำคัญที่สุดของรายวิชาแบบ MOOC ผลการวิจัยพบว่า การประเมินประสิทธิผลของชุดรายวิชาที่พัฒนาด้านการเรียนรู้และด้านปฏิกิริยาได้ผลในเชิงบวกอย่างเด่นชัด ส่วนด้านทัศนตินั้นไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังเข้าเรียน และในด้านการประเมินประสิทธิภาพของระบบ MOOC พบว่าการสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ในรูปแบบคลิปวิดีโอนั้น ควรทำเป็นคลิปสั้นๆ คลิปละไม่เกิน 5 นาที ชุดรายวิชานี้สามารถนำไปปรับปรุงและขยายต่อเพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตร (non-degree program) เนื่องจากสัญญาอนุญาตการใช้ชุดรายวิชานี้ เป็นครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ CC: BY-NC-SA

References

ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC: เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 1(1), 46-70.

Bustamante, A. S., Dearing, E., Zachrisson, H. D., & Vandell, D. L. (2021). Adult outcomes of sustained high-quality early child care and education: Do they vary by family income? Child Development, 93(2), 502-523.

Dehaene-Lambertz, G. & Spelke, E. S. (2015). The Infancy of the Human Brain. Neuron, 88(1), 93-109.

Heckman, J. J. (2006). The economics of inequality: The value of early childhood education. American Economic Review, 96(2), 1-17.

Hembacher, E., & Frank, M. C. (2020). The Early Parenting Attitudes Questionnaire: Measuring Intuitive Theories of Parenting and Child Development. Collabra: Psychology, 6(1): 16-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-16