การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ชนิพรรณ จาติเสถียร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กันตวรรณ มีสมสาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กัญจนา ศิลปกิจยาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน, การพัฒนาวิชาชีพครู, ครูปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย โดยใช้
การพัฒนาบทเรียนร่วมกันในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงาน
การพัฒนาบทเรียนร่วมกันของครูปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มที่ศึกษาเป็นครูปฐมวัยจำนวน6 คนจากโรงเรียนประถมศึกษา 3 โรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ก่อนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันและระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ซึ่งแบ่งเป็น
3 ขั้น คือ 1) วางแผน 2) สอนและสังเกต 3) สะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบทดสอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินสมรรถนะ
การจัดการเรียนรู้4) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และ 5) แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า1) ครูปฐมวัยทุกคนมีสมรรถนะการจัดเรียนรู้เพิ่มขึ้นและ 2) ได้แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาบทเรียนร่วมกันทั้งแนวทางก่อนพัฒนาบทเรียนร่วมกัน  แนวทางการวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
แนวทางการสังเกตชั้นเรียนร่วมกัน และแนวทางการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน

References

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มกระทรวง คณะที่ 2. (2562). รายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย. ม.ป.ท.

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557). การชี้แนะทางปัญญาเพื่อการพัฒนาครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 7(2), 28-35.

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2557). การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) ทางเลือกใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน.https://www.prc.ac.th/document/teacher/curriculum/4c5991e59785af35dc4cb3f2de80863ce8fd1307.pdf

____________. (2560). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน: แนวคิดและแนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 299-319.

ปิยารักษ์ บุณยากร และศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2015). ผลของการใช้การศึกษาผ่านบทเรียนที่มีต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูอนุบาล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 10(2), 15-28.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). นิเทศการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2020). ปัญหาพัฒนาการเด็กไทย กับแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับทักษะเด็กในศตวรรษที่ 21. https://www.hsri.or.th/media/news/detail/12472

สำนักงานนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย. (2563). รายงานการศึกษาสภาวการณ์การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2560). ระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

หฤทัย อนุสสรราชกิจและวราลี ถนอมชาติ.(2562). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(2), 1-11.

Cerbin, W. & Kopp, B. (2006). Lesson Study as a Model for Building Pedagogical Knowledge and Improving Teaching. InternationalJournal of Teaching and Learning in Higher Education, 18(3), 250-257.

Lewis, C. , & Perry, R. (2003). Lesson study and teachers knowledge development: Collaborative critique of a research model and methods. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association 2003, Chicago: AERA.

Saito, E., Murase, M., Tsukui, A. & Yeo, J. (2015). Lesson study for learning community: A guide to sustainable school reform. New York: Routledge.

The Heckman Equation. (2022). Invest in Early Childhood Development: Reduce Deficits, Strengthen the Economy. https://heckmanequation.org/resource/invest-in-early-childhood-development-reduce-deficits-strengthen-the-economy/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-03