การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา

ผู้แต่ง

  • กัญญาณัฐ คงสา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง นครนายก
  • ขวัญใจ จริยาทัศน์กร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง นครนายก

คำสำคัญ:

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์, กิจกรรมเกมการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียน
ชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลชั้น 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ)
ก่อนและหลังใช้กิจกรรมเกมการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ชุด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์-สมใจ) โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้กิจกรรมเกมการศึกษา มีคะแนนสูงขึ้น

2. การเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) มีคะแนนพัฒนาการ 91.25 % อยู่ในระดับสูง

 

References

Apinya Sapkam. (2019). Developing social interaction of preschool children at grade 3/1.

Suan Dusit University.

Bunchu Sanansiang. (1984). Didactic Game. Retrieved December 20, 2019,

from http://nopparuk.blogspot.com/2012/07/blog-post.html

Hansa Nilwichian. (1992). Early childhood education, curriculum and guidelines.

Department of Primary Education. Faculty of Education Prince of Songkla University Pattani Campus.

Kanchana Thapphung. (2014). Development of activity sets for observation, classification

and comparison. By using educational games for kindergarten students in Year 3 at

the Demonstration School Uttaradit Rajabhat Master of Education Curriculum and Instruction Uttaradit Rajabhat University.

Ministry of Education. (2017). Early childhood education curriculum B.E. 2560 Bangkok:

Printing House, Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.

Nitaya Praprakitkit. (1998). Mathematics for Early Childhood. Bangkok: OS Printing House.

Nitikan Kwanboon. (2016). Development of educational games for mathematical

preparation For preschool children Bachelor of Thesis Program and Supervision

Graduate school Silpakorn University.

Nujira Lakkla. (2018). Development of mathematics basic skills acquired through

educational game of the 2nd year-class Childhood children at ban bang kaew

school. The Degree of Master of Education Program in Curriculum and Instruction,

Rajabhat Rajanagarindra University.

Office of the National Primary Education Commission (1997). Didactic Game. Bangkok:

Teachers' Publishing House, Ladprao.

Office of the Private Education Commission. (1993). Activity for promoting kindergarten

children (Didactic Game) Bangkok: Office of the Private Education Commission.

Pornthip Kanthasom. (2014). The effect of using educational games to develop

mathematical readiness of Early Childhood. Master of Education Graduate school

Chiang Mai University.

Sirichai Kanjanawasee. (2014). Gain Scores. The Social Sciences Research Association of

Thailand, 1(1). January-April: p. 1-20.

Wannee Watjanasawat. (2009). Mathematic basic skills of young children acquired Lotto

didactic games. Master of Education Degree in Early Childhood Education at

Srinakharinwirot University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28