ความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุทธิพรรณ ธีรพงศ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • นิฤมล สุวรรณศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ทิพย์ ขำอยู่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • จิราพร รอดพ่วง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • นงเยาว์ นุชนารถ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การจัดการการศึกษา, สมรรถนะผู้บริหาร, คุณลักษณะบัณฑิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อสมรรถนะและคุณลักษณะของมหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรจากหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สำนักงานการจัดการศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานการจัดการศึกษากรมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่รับผิดชอบคุณภาพการจัดการศึกษา จำนวน 360 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ การศึกษาปฐมวัยและการประถมศึกษา หรือผู้มีประสบการณ์ทางการบริหารจัดการการศึกษาในโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสำรวจความต้องการเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการจัดการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา และแบบสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีคาดหวังต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา อันดับแรก คือ การเป็นผู้บริหารที่นำสถานศึกษาให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ รองลงมา คือ การเป็นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำและสามารถชี้นำสังคม และการเป็นผู้บริหารที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมบนฐานงานวิจัยและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารทรัพยากร และ 2) ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อสมรรถนะที่จำเป็นของมหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา อันดับแรก คือ สมรรถนะด้านความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ รองลงมา คือ สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมและด้านการเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ และสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง ส่วนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อคุณลักษณะของมหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา อันดับแรก คือ มีคุณธรรม และจริยธรรม รองลงมา คือ ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการการศึกษา และมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563, จาก http://skn-peo.go.th/home/datas/file/1556873851.pdf

นริศ มหาพรหมวัน และคณะ. (2561). รูปแบบสมรรถนะผู้นำโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐานสากล. วารสาร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(2), 138-150.

พีรภาว์ บุญเพลิง. (2558). อนาคตภาพการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยตามความต้องการของชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี, มิเกล กาไรซาบาล.

วีระชาติ กิเลนทอง. (2562). ดร.วีระชาติ กิเลนทอง : ความป่วยไข้ของการศึกษาปฐมวัย และกับดักใน ‘สนามเด็กเล็ก’. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.the101.world/weerachart-interview/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:

พริกหวานกราฟฟิค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28