ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังเชิงรุกผ่านการเล่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษารายวิชามาตุเวทวิทยา

ผู้แต่ง

  • นิศารัตน์ อิสระมโนรส คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ปุณยวีร์ จิโรภาสวรพงศ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังเชิงรุกผ่านการเล่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชามาตุเวทวิทยา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังเชิงรุกผ่านการเล่นที่มีต่อทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษารายวิชามาตุเวทวิทยา  งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชาย-หญิง ระดับชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาอยู่ในรายวิชามาตุเวทวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 28 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการทดลอง โดยทดลองใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังเชิงรุกผ่านการเล่น เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 3 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังเชิงรุกผ่านการเล่น จำนวน 8 สัปดาห์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชามาตุเวทวิทยา และแบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สถิติที่ใช้ในงานวิจัยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังเชิงรุกผ่านการเล่น นักศึกษามีคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าการก่อนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังเชิงรุกผ่านการเล่น

References

กานต์ อัมพานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิชาความเป็นครูสำหรับ

นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 20(2), 87-101.

ชลิตา สุนันทาภรณ์. (2561). เรียนปนเล่น เล่นปนเรียน : กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย.

สืบค้น 13 กรกฏาคม 2562, จาก https://thepotential.org/2018/05/04/play-based-learning/

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

(พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจบ บุญจันทร์ และ จตุรงค์ ธนะสีลังกูร. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของนักศึกษาคณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาขอนแก่น, 41(4), 70-81.

เบญจวรรณ ถนอมชัยธวัช และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 : ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา.

วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2562). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา

(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณภา พิพัฒน์ธนวงศ์. (2557). ทักษะชีวิตวัยรุ่นไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ,

(2), 39-63.

วีระศักดิ์ แก้วทรัพย์ และคณะ. (2559). การศึกษาองค์ประกอบของทักษะชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับ

ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานี

วิชาการ ครั้งที่ 1 (น. 1382-1395).

สิริวดี ชูเชิด. (2561). การพัฒนาทักษะการเรียนของนักศึกษาโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติในรายวิชา

การพัฒนาองค์การ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 1-12.

สุรสิทธิ์ นาคสัมฤทธิ์. (2561). การพัฒนาทักษะชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

กลุ่มรัตนโกสินทร์. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 14(1), 41-54.

WHO. (1997). Life skills education for children and adolescents in school. Retrieved from:

http://www.searo.who.int/entity/mental_health/documents/ who-mnh-psf-93.7arev2.pdf?ua=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28