บทบาทของผู้ปกครองในการปลูกฝังพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัย ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
บทบาทผู้ปกครอง, การปลูกฝังพฤติกรรมในการรับประทานอาหารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการปลูกฝังพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัยในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก จำนวน 329 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามบทบาทของผู้ปกครองในการปลูกฝังพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .844 และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .905 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ correlation ผลการศึกษา พบว่า
1. พฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัย ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง อันดับแรกคือ การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ รองลงมา การปฏิบัติตนขณะรับประทานอาหาร
2. บทบาทของผู้ปกครองในการปลูกฝังพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัย ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง อันดับแรก คือ ด้านการเป็นแบบอย่างในการรับประทานอาหาร รองลงมา ด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการรับประทานอาหาร และด้านสนับสนุนการรับประทานอาหาร ตามลำดับ
3. การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้ปกครองในการปลูกฝังพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัยกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัย พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ทุกด้าน
References
Bunyarak, Rungrut Thanan (2011). Adjust the attitude of parents - guardians. The key is to
lay the foundation for the development of children. Vanguard, 6.
Chakphitak, Saowanee. (1999). Nutrition for family and patients. (7th edition). Bangkok:Thai
Wattana Panich.
Intrampan, Walai. (2007). Nutrition for different ages. (2nd edition). Bangkok: Saeng Thawi Printing.
New Zealand Ministry of Health. (2012). Food and nutrition guidelines for healthy children
and young people (aged 2 -18 years). Wellington: Ministry of Health.
Office of the National Statistics, (2013). Survey of situations of children and women in
Thailand B.E. 2012. Bangkok: National Statistical Office.
Office of Women's Affairs and Family Development, (2009). Time with family: The value of
spending time with family. Retrieved from http://www.owf.go.th/wofa/modules/website/upload/ article/3064166b18edfa80a72b16d1dda28d43.pdf
Thai Health Project, (2014. How much "fat" Thai people. Thai people's health 2014. (page
-11) Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research Mahidol
University.
Wongthong, Cinnamon. (2008). Pochana Science (King Mongkut's University of Technology
Thonburi).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์