วิกฤตปฐมวัยกระทบอนาคตชาติ

ผู้แต่ง

  • ธิดา พิทักษ์สินสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/jecem.2019.7

คำสำคัญ:

วิกฤตปฐมวัย, สถานการณ์เด็กปฐมวัย, เทคโนโลยีจอภาพ, วินัยเชิงบวก

บทคัดย่อ

สถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความสลับซับซ้อน กระทบต่อครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดในสังคม รวมถึงสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีภารกิจในการดูแลเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่อ่อนไหวง่ายต่อปัจจัยที่มากระทบ เป็นวัยสำคัญต่อการวางฐานชีวิตของคน ๆ หนึ่งที่จะเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศ แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของเด็กปฐมวัยไม่ว่าจะเป็นด้านสุขอนามัยตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต การเลี้ยงดูที่ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว การไม่ยึดมั่นในหลักวิชาของผู้จัดการศึกษา และกรอบคิดของสังคมที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักการพัฒนาเด็ก  ทำให้สถานการณ์เด็กปฐมวัยยังไม่ดีขึ้นตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีความพยายามของหลายหน่วยงานจากหลายกระทรวง นอกจากนี้ยังมีวิกฤตใหม่เข้ามาซ้ำเติมสถานการณ์เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 4 วิกฤตด้วยกัน คือ 1) ด้านการเร่งเรียนเขียนอ่านที่เข้มข้นเข้ามาเบียดเบียนเวลาและโอกาสของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเป็นองค์รวม 2) ด้านการสร้างวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย ไม่ว่าจะเป็นการละเลยที่จะฝึกฝน ขาดทักษะในการสร้างวินัยเชิงบวก ทำให้เด็กขาดความสามารถในการกำกับตัวเอง ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะก่อปัญหาใหญ่กับสังคมในอนาคต 3) ด้านการส่งเสริมความสามารถทางภาษา ด้วยการให้ความสำคัญกับภาษาต่างประเทศจนละเลยความสำคัญของภาษาแม่ที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารของเด็กกับโลกรอบตัว และเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาสติปัญญา และ 4) ด้านการส่งเสริมให้เด็กใช้สื่อเทคโนโลยีจอภาพตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นการตื่นตัวกับการใช้เทคโนโลยีจอภาพอย่างขาดความตระหนักรู้ในวิธีการใช้ที่ถูกต้อง ปล่อยให้มือถือและไอแพทเป็นพี่เลี้ยงเด็ก สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อการพัฒนาเด็กในทุกแง่มุมของชีวิต วิกฤตในเด็กปฐมวัยจึงถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องช่วยกันแก้ไขตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับชาติ เพราะช่วงเวลาปฐมวัยนั้นสั้นนัก ผ่านไปแล้วก็ไม่อาจหวนกลับคืนมา

References

Bureau of Reproductive Health, Department of Health. (2015). Database of reproductive health systems of Thailand. Retrieved from https://rhdata.anamai.moph.go.th/. (In Thai)
Chubhapukdikul, N., Ruksee, N., Tanasetkorn, P. and Lertawasdatrakul, O. (2017). Tool Development and Evaluation Criteria for Assessment of Executive Function in Early Childhood (1st ed.). National Institute for Child and Family Development and Research Center for Neuroscience, Institute of Molecular Biosciences, Mahidol University. (In Thai)
Healthy Lifestyle Promotion Section Fund. (2018). The Report on The situations of Child Youth and families for 2017 Seedtizen Citizen Seeds. Bangkok. PenThai Publishing. (In Thai)
National Reform Steering Assembly, The Committees of National Reform Steering Assembly of Education. (2018). Summary Operating Results of the Subcommittee of Reforming Steering Assembly of the Standard System Reform and educational quality assurance.Bangkok. The secretariat of the House of the Representative Printing office. (In Thai)
Pitaksinsuk, T., Tasanont, S. and Panayangkool, S. (Eds.). (2007). Early Childhood Crisis and Solutions. Preschool Education Association of Thailand under the Royal Patronage of Her Royal Highness MahaChakriSiridhorn and Office of Knowledge Management and Development (Public organization). Bangkok: Plus Press. (In Thai)
Saifah, Y. (2014). A Transition between Kindergarten and Elementary Grade Classrooms: An Important Step of Elementary School Students. Journal of Education Study. 42(3), 143-159. Retrieved from https://tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26034/22077. (In Thai)
Tanasetkorn, P. (2014). Creating positive discipline in families with early childhood. Creating
positive discipline in families with early childhood. (Unit 10). Nontaburi, Sukhothai
Tammathirat. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-04

How to Cite

พิทักษ์สินสุข ธ. (2019). วิกฤตปฐมวัยกระทบอนาคตชาติ. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 77–89. https://doi.org/10.14456/jecem.2019.7