การวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบันของปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยภูมิคุ้มกันและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.)

ผู้แต่ง

  • วิไลลักษณ์ ลังกา
  • อรอุมา เจริญสุข
  • พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์
  • กัมปนาท บริบูรณ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jecem.2019.4

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, ปัจจัยภูมิคุ้มกัน, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการณ์ และเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยภูมิคุ้มกันและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) จำแนกตามภาคและศึกษาผลกระทบของปัญหาการติดสารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้าน อพป. ที่มีต่อการพัฒนาหมู่บ้านฯ ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ เป็นผู้ที่มีส่วนในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน อพป. จำนวน 130 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามเป็นเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่หมู่บ้าน อพป. จำนวน 2,489 คนจาก 18 จังหวัด รวม 4 ภูมิภาค โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามมาตรประเมินค่า (Rating scale) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง ได้แก่ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง จำแนกตามภูมิภาค เด็กและเยาวชนในแต่ละภูมิภาค มีการเข้าถึงแหล่งสารเสพติด การหลีกเลี่ยงปัญหา การคล้อยตามกลุ่มคนใช้สารเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเจตคติต่อการใช้สารเสพติด ในแต่ละภูมิภาค มีเจตคติต่อการใช้สารเสพติดไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยภูมิคุ้มกันต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง จำแนกตามภูมิภาค เด็กและเยาวชนในแต่ละภูมิภาค มีการเห็นคุณค่าในตนเอง การควบคุมตนเอง ทักษะชีวิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความตระหนักรู้ถึงโทษของสารเสพติด ในแต่ละภูมิภาคมีความตระหนักรู้ถึงโทษของสารเสพติดไม่แตกต่างกัน 3) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง จำแนกตามภูมิภาค เด็กและเยาวชนในแต่ละภูมิภาคมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Chief Office of the Permanent Secretary for Defence headquarters. (2014). Framework for social reform in Thailand. (in Thai)
Chaipichitpan, N. (2004). A study of factors affecting amphetamine relapsing behavior of secondary school students treated in Thanyarak Hospital: A thesis in Health Education. Master’s thesis. Chulalongkorn University, Thailand. (in Thai)
Chinakate, S. (2010). Factors Affection To Preventive Behavior on Drug Among The Vocational Certificate Students in Colleges Under The Provincial Vocational Education of Ratchaburi: A thesis in Development Education. Master’s thesis. Silpakorn University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Internal Security Operations Comman in Lampang Province. (Online). Anual Report 2011 (year 1) from www.lampang.go.th/sts/25554/book_S.doc. (in Thai)
Internal Security Operations Command. (2014). Internal Security Operations Command Strategy. (2555 – 2559).From www.isocthai.go.yh/yut-ta-saat_isoc.../ yut-ta-saat_isoc_year55-59.pdf. (in Thai)
Jamwattakul, K. (2002). A Study of The Factors Related to Family and Peer Group on Amphetamine use of Adolescent: A thesis in Guidence and Counselling. Master’s thesis. Srinakarinwirot University, Thailand. (in Thai)
Lungnamtip, T. (2011). Factors Associated with the Repeated Drug Abuse Behavior of Drug Addicted Patients in Thanyarak Institute: A thesis in Health Education. Master’s thesis. Kasetsart University, Thailand. (in Thai)
Parnpit, P. (2009). Factors Affecting Narcotics Preventive Behavior of Student Phapradaeng Non-Formal and Informal Education Centre: A thesis in Social Sciences for Development. Master’s thesis. Dhonburi Rajabhat University, Thailand. (in Thai)
Poonakun, K. ( 2013 ). The Factors of the Narcotics Attitudes on Knowledge and Social Environment That Effect for Students Risk Behaviors on Narcotic in Colleges Nongkhai. The 3rd STOU Graduate Research Conference. 1-14. (in Thai)
Samanmit, W. (2003). Social skills contributing to protective behavior against drug abuse among male junior high School students in schools under the department of general education, ministry of education, phetchaburi province: A thesis in Community Psychology. Master’s thesis. Silpakorn University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Sudheerakrailas, W. (1993). Variable Relating to Anti-Drug Addiction of the secondary School Students in Bangkok: A thesis in Science Degree in Applied Behavioral Science. Master’s thesis. Srinakarinwirot University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Tunin, C. (2011). A Development of Casual Relationships Model of Factors Affecting Awareness in DrugProblem of Matthayom 3 Students, Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3: A thesis in Research and Evaluation Education.Master’s thesis. Chulalongkorn University, Thailand. (in Thai)
Yongann, N. (2013). Factors Afactors Affecting The Mathayomsuksa 1 students Behavior of Drugs Prevention in Schools Under Loei Primary Education Service Area: A thesis in Research and Evaluation Education. Master’s thesis. Loei Rajabhat University, Thailand. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-04

How to Cite

ลังกา ว., เจริญสุข อ., ศรีสวัสดิ์ พ., & บริบูรณ์ ก. (2019). การวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบันของปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยภูมิคุ้มกันและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.). วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 28–43. https://doi.org/10.14456/jecem.2019.4