การพัฒนากิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

Main Article Content

วีนัส จีวะรัตน์
สุดารัตน์ สารสว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น และ 3)เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครอง จำนวน 44 คนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพังงา จำนวน 44 คน และครูจำนวน 5 คน รวม 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง คู่มือการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงาแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 และแบบสอบถามความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

ผลการวิจัยพบว่า

1. กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ คือ การอบรมเลี้ยงดูในฐานะผู้ปกครอง การติดต่อสื่อสารระหว่างบ้านกับโรงเรียน การอาสาสมัครเพื่อการศึกษา การเรียนรู้ที่บ้าน การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของโรงเรียน และการร่วมมือกับชุมชน

2. ผลการทดลองใช้กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา ในภาพรวมมีระดับค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความเหมาะสม และเป็นไปได้ของกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

 

The Activity Development for Parents involvement in the First Grade Teaching of Anuban Phang-nga Primary Education Service Area

The objectives of this research were to: 1) develop Parents involvement in the first grade teaching of Anuban Phang-nga school; 2) study the result of parents involvement in the first grade teaching of Anuban Phang-nga school; and 3)verify the propriety and feasibility of parents involvement in the first grade teaching of Anuban Phang-nga school. Samples were 44 parents, 44 first grade students and 5 teachers. The total sample size was 93.

The findings were as follows:

1. Parents involvement in the first grade teaching of Anuban Phang-nga consisted of 6 strategies in parenting, communication, volunteering, learning at home, decision making, and collaborating with community.

2. Parents involvement in the first grade teaching of Anuban Phang-nga after using 6 phases of involvement by parenting, communication, volunteering, learning at home, decision making, and collaborating with community indicated significantly differences from the past at .05.

3. Parents agreed that the involvement in the first grade teaching of Anuban Phang-nga was appropriate and possible at high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)