กระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และวิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบโดยเรียงลำดับการพิจารณาเป็น 1 - 2 และ 3 : แนวทางในการพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์

Main Article Content

ชัยรัตน์ โตศิลา
วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 และศึกษาคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยพิจารณาจากทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ ผู้วิจัยได้พัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาสร้างกระบวนการเรียนการสอน แล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวนห้องเรียน 2 ห้อง จำนวนนักเรียน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน ระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบวัดทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นอภิปรายเพื่อกำหนดประเด็นศึกษา 2) ขั้นวิเคราะห์หลักฐานหลัก 3) ขั้นเปรียบเทียบข้อมูล 4) ขั้นปฏิสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และ 5) ขั้นนำเสนอข้อค้นพบ

2. คุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนซึ่งพิจารณาจากผลของการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีดังนี้

2.1 ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนจากกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.2 ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.3 ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนจากกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น นักเรียนสามารถกำหนดคำถามสำคัญ ตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบ ตีความหลักฐาน และเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของเส้นเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Instructional Process by Using Historical Method and The Systematic Approach of 1st-/2nd-/ and 3rd- Order Documents : Guides to Develop Students’ Historical Thinking Skills

This research aims to develop an instructional process by using historical method to enhance historical thinking skills of eighth grade students, and study the quality of the developed instructional process on historical thinking skills. The researcher has developed the instructional process by analyzing and synthesizing basic information concerning the curriculum, historical instruction, including related approaches and theories. Then the instructional process by using historical method were developed. The developed process was experiment with eighth grade students in the Demonstration School of Silpakorn University. The samples are 80 students taken to that divided into two groups of 40 students in the experimental group and 40 students in the control group. The duration of the experiment was 15 weeks long. The research instruments are the tests of historical thinking skills. Data are analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The findings are as follows:

1. The developed instructional process consist of 5 steps, namely: the discussion on the issue of the study, the analysis of the essential primary evidence, the comparison of data, interaction with the historical evidence, and the report the findings.

2. The quality of the developed instructional process on the results of implementing the developed instructional process are:

2.1 the historical thinking skills of students after learning from the developed instructional process were significantly higher than those of before at .05 level of significance.

2.2 the historical thinking skills of students in the experimental group after learning from the developed instructional process were significantly higher than those of students in the control group at .05 level of significance.

2.3 the historical thinking skills of students in the experimental group were improved. Students are able to raise main questions, form hypotheses, analyze, compare as well as interprete of the evidences and bring all up to present thrie study in time line pattern with effectively.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)