รูปแบบระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา
ลุยง วีระนาวิน
สาธิต จันทรวินิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยว กับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ ตามลักษณะส่วนบุคคล 3) ศึกษารูปแบบระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ ประชากรเป็นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 1,306 คน คำนวณตามสูตรของยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาในการวิจัย จำนวน 306 คน สุ่มตัวอย่างแบบ ชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบ ถาม และสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาจารย์ จำนวน 10 คนและกลุ่มนักศึกษาจำนวน 8 คน ใช้วิธีการเลือก แบบเจาะจง สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการใน ปัจจุบัน ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (\bar{X}=3.44, S.D.=0.76) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับ บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ กับลักษณะส่วนบุคคล พบว่า เพศ ระดับชั้นปี สาขาวิชา แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ ความพอเพียงของรายได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพักอาศัย ไม่แตกต่างกัน 3) รูปแบบระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่า มี 5 รูปแบบคือ (1) รูปแบบระบบครูประจำชั้นควบคู่กับอาจารย์ที่ปรึกษา (2) รูปแบบระบบอาจารย์ที่ปรึกษามี นักศึกษาเพียงชั้นปีเดียว (3) รูปแบบระบบอาจารย์ที่ปรึกษามีนักศึกษาหลายชั้นปีในความดูแล เป็นรูปแบบ ผสมผสาน (4) รูปแบบผสมผสานระหว่าง 1, 2 และ 3 กล่าวคือ นักศึกษาแต่ละชั้นปี จะมีอาจารย์ประจำชั้น ชั้นปีละ 2 คน และ (5) รูปแบบที่มีอาจารย์ที่ปรึกษา 2 ชุด คือ ก่อนเลือกวิชาเอก และหลังเลือกวิชาเอก แต่ส่วน ใหญ่ผู้ให้ข้อมูลหลักมีความคิดเห็นว่า รูปแบบที่สอง ระบบที่ปรึกษาควรเป็นแบบมีนักศึกษาเพียงชั้นปีเดียวดูแล ตั้งแต่ปีแรกที่เข้ามาและดูแลตลอดไปจนจบการศึกษาจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากการปฏิบัติจะมีประสิทธิภาพมาก ที่สุดและสามารถดูแลต่อเนื่อง รวมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการและนักศึกษามีความใกล้ชิด สนิทสนมกัน

 

The Academic Advisor System Model of Bachelor Degree Level in Faculty of Education, Silpakorn University

This research was conducted on mixed research methods and aimed to 1) study opinions of undergraduate students studying at bachelor degree level in Faculty of Education, Silpakorn University to their lecturers about academic advisor roles providing for them 2) compare these opinions based on their personal characteristics and 3) find out its appropriate system. From 1,306 undergraduate students known as our population, the respondents were calculated based on Yamane Table (1973) and yielded its amounts to 306 persons and these were selected by simple random sampling technique and quantitatively interviewed with one structural questionnaire set. For another qualitative approach, the 10 academic lecturers and the 8 students were purposively chosen as key informants to joint in two focus group discussions The collected data was statistical and qualitatively analyzed and presented in percentage, mean, standard deviation, independent t-test and outcomes of its content analysis respectively.

From the results it was shown as follows: The opinions of students were evaluated overall at moderate level (\bar{X}=3.44, S.D. = 0.76). Furthermore there had these significant different opinions when compared to their personal characteristics of sex status, levels of education, academic section at P<” 0.05. The appropriate model of academic advisor system found here were 5 types as follows Type 1: Class Instructors Co-Work Together With Academic Advisors, Type 2: One Academic Advisor for One Class, Type 3: One Academic Advisor for Many Class, Type 4: Integrated Type among Type 1, 2 and 3 and from this there would have 2 class instructors /one class and Type 5: there should have 2 sets of academic advisor, the first and the second were assigned to take care them before and after selecting the major study subject respectively. The key informants however provided their recommendation to that the system should have only one academic advisor for one student class and he or she had to take care his or her responsible class from the first year of student study until to the end. Based on this type the system would have its most efficient practices. Besides the advisor could play his or her continuous roles/functions and had close relationships with the students.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)