การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการ ในการจัดการ ศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี

Main Article Content

บุญเชิด ชำนิศาสตร์

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี 2) พัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี

กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนละ 1 คน จำนวน 125 คน และครูผู้สอนระดับปฐมวัยโรงเรียนละ 1 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโรงเรียนละ 1 คนจำนวน 125 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 250 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 15 คน และการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน การหาคุณภาพของแบบสอบถามโดยหาค่า IOC (Item Objective Congruence Index) เลือกเฉพาะข้อคำถามที่มีค่า IOC 0.50 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha – coefficient) ของครอนบาค (Cronbach)ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.959 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสัมภาษณ์และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้วิธีการสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี ในภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับปฏิบัติมาก (\bar{x} = 4.03, S.D. = 0.59) และในภาพรวมมีปัญหาในระดับปัญหาปานกลาง (\bar{x} = 2.70, S.D. = 0.90)

2. รูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี มีกระบวนการปฏิบัติงานวิชาการ 6 ขั้น คือ 1) การกำหนดเป้าหมาย 2) การวางแผน 3) การปฏิบัติตามแผน 4) การส่งเสริม นิเทศ กำกับ ติดตาม 5) การตรวจสอบ ประเมินผล 6) การรายงานผลการดำเนินงาน โดยภาพรวมรูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.77, S.D. = 0.32) และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.72, S.D. = 0.40)

 

Model Development of Academic Administration for Early Childhood Education Management of School Belonging to the Office of Phetchaburi’s Primary School Educational Area

This research was to study the current situation and the problem aspects of the academic administration in educational management of schools belonging to the Phetchaburi’s Primary School Educational Area, and to develop the academic administrative model for early childhood education management of these. The sample group was composed of 125 school administrators, 125 primary school teachers sampled by simple randomness from 125 schools and 15 experts. The research tools, the interview schedule, questionnaire and connoisseurship, were evaluated through 3 stages: 1) their content validity was evaluated by 12 experts. 2) the item objective congruence (IOC) was analyzed and then only the items with IOC more than 0.50 were accepted, and 3) alpha-coefficient of Cronbach was 0.959. The quantitative data were analyzed by percentage, mean and standard deviation while the qualitative ones were analyzed through content analysis.

The research results showed that:

1. In overall, the current situation of the academic management for the early childhood of schools belonging to the Phetchaburi’s Primary School Educational Area was on the level of high performance (\bar{x} = 4.03, S.D. = 0.59) and the problem aspect was on a moderate level (\bar{x} = 2.70, S.D. = 0.90)

2. The model of academic administration of schools belonging to the Phetchaburi’s Primary School Educational Area consisted of 6 stages; 1) indicating target, 2) planning, 3) doing as the plan, 4) encouraging, supervising, monitoring and following, 5) auditing and evaluating, and 6) reporting the results. In overall, the administrative model on early childhood educational management was appropriate at a high level (\bar{x} = 4.77, S.D. = 0.32) and had the possibility in performance at a high level as well (\bar{x} = 4.72, S.D. = 0.40).

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)