An Evaluation of a Capacity Building Programe of English Teachers in Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
The research was conducted to explore the effectiveness in developing teaching and professional behaviors of the teachers taking part in this programme, and was also aimed to eventually propose of a model for English language teachers and to identify characteristics of English language teachers for the 21st century. Project evaluation and mixed method approaches were applied as the major conceptual framework of the analysis. Results indicated strong satisfaction of this capacity building programme. Towards this end, the research identifies systematic model of teacher’s expected competencies is teacher capacity building.
การประเมินโครงการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ของสถาบันภาษาอังกฤษ
การประเมินโครงการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ของสถาบันภาษาอังกฤษ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับมูลนิธิเทมาเส็ก และ SEAMEO RELC ประเทศสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ เพื่อประเมินพัฒนาการการสอนภาษาอังกฤษ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรม เพื่อประเมินสมรรถนะการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และเพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาครูภาษาอังกฤษและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 43 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจำนวน 43 คน ศึกษานิเทศก์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 43 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรม จำนวน 43 คน นักเรียนที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนกับครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรม จำนวน 1,815 คน ครูเครือข่ายในการขยายผลการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรม จำนวน 509 คน และกลุ่มผู้กำหนดนโยบายและพัฒนาแนวคิดในการพัฒนาครูภาษาอังกฤษของสถาบันภาษาอังกฤษ ได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 คน ผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินตนเอง ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพคุณภาพงานวิจัยชุดฝึกอบรม (Module) หน่วยการเรียนรู้/แผนจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการการสอนภาษาอังกฤษแบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ครูภาษาอังกฤษมีพัฒนาการด้านการสอน และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานของตนเอง สูงขึ้นกว่าก่อนการอบรม สมรรถนะการสอนภาษาอังกฤษพบว่ามีความสามารถในระดับมาก ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน สื่อ/นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก ความสามารถในการขยายแนวคิดการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสู่ครูเครือข่าย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และนักเรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษดีขึ้นมาก รูปแบบการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ DATANE มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการสอนการใช้ภาษาอังกฤษสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพและเป็นผู้นำทางนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและสร้างมั่นใจในการสอนภาษาอังกฤษมี 6 ขั้นตอน 1. การพัฒนา (Developing) 2. การประเมิน (Assessing) 3. การฝึกอบรม (Training) ในประเทศต่างประเทศ 4. การประเมินเพื่อเป็นผู้ฝีกอบรม (Assessing to be the Trainer) 5. การสร้างเครือข่ายและการขยายผล (Networking and Disseminating) 6.การเป็นชุมชนมืออาชีพด้านภาษาอังกฤษ( English Professional Community)