การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตสื่อสร้างสรรค์ ประกอบการสอนภาษาไทย” สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

Main Article Content

ปิยณัฐ สุนทรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตสื่อสร้างสรรค์ ประกอบการสอนภาษาไทย” 2) ทดลองใช้หลักสูตร 3) ประเมินผลการใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม แบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบ t ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วยเนื้อหา 7 หน่วยการเรียน ใช้ระยะเวลา 12 ชั่วโมง โดยผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม มีความเหมาะสมในทุก รายการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.80–5.00 ส่วนผลการประเมินความสอดคล้อง โดยรวมพบว่าหลักสูตร การอบรมมีความสอดคล้องในทุกรายการ มีค่า IOC อยู่ในระดับ .80–1.00 2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึก อบรม ปรากฏผลดังนี้ 1) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ หลังการอบรมสูงขึ้นกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างฝึก อบรมเชิงปฏิบัติการ ในทุกหน่วยการเรียนรู้โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 91.95 และได้คะแนนผ่านเกณฑ์ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.29-4.35 และระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.52 - 4.94 3. ผลการประเมินการใช้ หลักสูตรฝึกอบรมปรากฏผลดังนี้ 1) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.54 2) ผลดำเนินการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้ารับการอบรม มีความคิดเห็นต่อ ความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยรวมอยู่ในระดับ 4.30-4.59 ส่วนผลการประเมินความ สอดคล้องของหลักสูตร มีความคิดเห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมเชิงมีความสอดคล้องกันในทุกรายการ โดยค่าเฉลี่ยความสอดคล้องอยู่ในระดับ .96-1.00

 

Research and Development of Training Workshop Curriculum on “Creative Media Production used in Teaching Thai Language” for First-Year Undergraduate Students in Thai Language Program Humanities and Social Sciences Faculty, Muban Chombueng Rajabhat University

The study aimed to 1) develop training workshop curriculum on “Creative Media Production used in Teaching Thai Language” 2) to try out the curriculum 3) to evaluate the use of curriculum. The sample of this study consisted of 46 students who were first-year undergraduate students in Thai Language Program. The tools used were pretest and posttest and satisfaction on the curriculum. The statistics used to analyze the data were: mean, standard deviation and tryout results.

The finding demonstrated that 1. The result of curriculum development was consisted of 7 learning units which took 12 hours. All learning units were appropriate with the mean ranged from 4.80 - 5.00 and IOC of .80 - 1.00. 2. The tryout result showed that 1. the participants’ knowledge was increased after the training workshop with the statistical significance level at .01. 2. the participants had the result of training evaluation, which evaluated from all learning units at 91.95% and scored a good level with the mean ranged from 4.29 - 4.35 and an excellent level with the mean ranged from 4.52 - 4.92. 3. The result of using curriculum evaluation revealed that 1) the participants’ satisfaction was at highest level with the average of 4.54. 2) The result of curriculum appropriateness evaluated by participants was ranged from 4.30 – 4.59. In addition, the curriculum was consistent with all items at the level of 96 - 1.00.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)