การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3

Main Article Content

สุชาติ หินมะลิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3 ที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน และระดับกลางของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษระหว่างเพศ และชั้นปีของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษ Oxford’s Strategy Inventory for Language Learning (SILL) Version 7.0 ซึ่งผู้วิจัยได้แปลเป็นภาษาไทยและปรับคำให้เหมาะสมกับบริบท แบบสอบถามกลยุทธ์การเรียนแบ่งกลยุทธ์การเรียนออกเป็น 6 ด้าน คือ กลยุทธ์ด้านการจำ กลยุทธ์ ด้านพุทธิปัญญา กลยุทธ์ด้านการทดแทน กลยุทธ์ด้านอภิปัญญา กลยุทธ์ด้านอารมณ์ และความรู้สึก ตลอด จนกลยุทธ์ด้านสังคม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จากประชากรนัก ศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานและ ระดับกลาง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การทดสอบแบบ แปรปรวนสองทาง (ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับ พื้นฐาน และระดับกลางใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษในระดับปานกลางในทุกด้านของกลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ นักศึกษาใช้สูงที่สุดคือ กลยุทธ์ด้านอภิปัญญา ในขณะที่กลยุทธ์ที่นักศึกษาใช้น้อยที่สุดคือ กลยุทธ์ด้านการจำ นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่า เพศและความแตกต่างของระดับชั้นเรียน ไม่มีผลต่อการใช้กลยุทธ์การเรียน ภาษาอังกฤษของนักศึกษา อย่างไรก็ตาม การศึกษาระบุว่านักศึกษาเพศชายใช้กลยุทธ์การเรียนด้านพุทธิ ปัญญามากกว่านักศึกษาเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประการสุดท้าย นักศึกษาเพศหญิงใช้กลยุทธ์ การเรียนด้านอารมณ์ และความรู้สึกมากกว่านักศึกษาเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

A Study on the Use of Language Learning Strategies by the First-Year and Third-Year Students at Chiang Mai University

The purposes of this study were to study language learning strategies used by first-year and third-year Chiang Mai University students and to compare the use of the students’ learning strategies according to their genders and course levels. The instrument used to collect data was the Oxford’s Strategy Inventory for Language Learning (SILL) Version 7.0. The SILL was translated into the Thai language and adapted to suit the Thai context. The SILL consists of six categories: memory, cognitive, compensation, metacognitive, affective and social strategies. 352 subjects were randomly taken from first-year and third-year students enrolled in the foundation and intermediate English courses. The data was analysed through an analysis of variance (ANOVA) to find the mean and standard deviation. Results from the survey indicated that first-year and third-year students used English learning strategies moderately in all categories. Metacognitive strategies were most frequently used among the students while they showed the least use of memory strategies. It was also found that the genders and course levels did not affect the use of learning strategies. However, findings showed that males used cognitive strategies significantly more often than females, and females used affective strategies significantly more frequently than males.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)