ผลของการใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก แบบผสมผสาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบผสมผสานกับนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบดั้งเดิม และศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบผสมผสาน จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบดั้งเดิม จำนวน 30 คน โดยมีระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาที่เรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบผสมผสาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบดั้งเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบผสมผสานมีความคิดเห็นต่อการเรียนอยู่ในระดับมาก
Effects of Using Hybrid Problem-Based Learning Upon Learning Achievement of Undergraduate Students, Faculty of Agricultural Technology, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
The purpose of this research were 1)to compare the achievement score of students learned on hybrid problem-based learning versus students learned on traditional problem-based learning 2) to study students’ opinions onhybrid problem-based learning. The samples were undergraduate students, Faculty of Agricultural Technology. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.Thirty undergraduate studentsassigned to the experimental group used online tools to support their learning activities while other thirty undergraduate students assigned to the control group did not. The experiment was carried out for 6 weeks. The data were analyzed using mean, standard deviation and t-test.