การบูรณาการรูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการ พัฒนาจิตพิสัยสำหรับการเรียนการสอนในปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
หน่วยงานภาครัฐได้มีนโยบายในการพัฒนาประเทศโดยการกำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนา มนุษย์อย่างรอบด้านโดยสิ่งที่สำคัญคือการพัฒนาด้านจิตใจเพื่อพัฒนาคนให้เป็นศูนย์กลางทางการเรียนรู้ เช่น เดียวกับหน่วยงานด้านการศึกษาที่เน้นความสำคัญของการพัฒนาจิตพิสัยเนื่องจากเป็นปัจจัยพื้นฐานในการส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จทั้งในด้านการเรียนและการอยู่ร่วมกันในสังคมซึ่งในปัจจุบัน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเป็นนวัตกรรมที่มีผู้สนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะรูปแบบการเรียนการสอนด้านจิตพิสัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมและเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรศึกษาหลักการที่สำคัญ 5 ขั้นดังนี้ 1) ขั้นการรับรู้ (Receiving or attention) 2) ขั้นการตอบสนอง (Responding) 3) ขั้นการสร้างคุณค่า (Valuing) 4) ขั้นการจัดระบบคุณค่า (Organization) และ 5) ขั้นการสร้างลักษณะนิสัย (Characterization by a value) การบูรณาการรูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยให้มีความเหมาะสมจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการจัดการเรียนการสอนได้ทุกรายวิชา เพื่อช่วยกำกับผู้เรียนเกิดคุณลักษณะนิสัยทางการเรียนที่ดี ตลอดจนการปรับพฤติกรรมทางการเรียนได้อย่างเหมาะสมต่อไป
The Integrating Methods in the Affective Domain for a Current Teaching and Learning
The governmental agencies have had policies of a country development by implementing strategies focusing on human development. The primary key, therefore, is an affective development in order to improve humans to be a learning center. Similarly, the educational agencies concentrate on an importance of an affective development because it is a basic factor which promotes learners to achieve both learning and community living. Currently there are numerous people who are interested in a teaching development as an innovation, especially on methods in the affective domain which are vital to promote and to create a better learning. Thus, the educator examined five important principals as follows: 1) receiving or attention 2) responding 3) valuing 4) organization and 5) characterization by a value. An appropriate integration of methods in the affective domain can be applied to teach for all subjects because these methods are able to monitor learners’ good learning manners and appropriate learning behavior adaptation.