กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง : บทสำรวจความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาของไทย

Main Article Content

ชัยรัตน์ โตศิลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะสำคัญของกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมืองและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเพื่อศึกษาผลกระทบกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมืองจากประสบการณ์ในต่างประเทศที่มีต่อภาคการศึกษาไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารในรูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระแสของกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองของไทยมีพลวัตสูง และมีแนวโน้มจะเข้าสู่ความเป็นเมืองของประเทศไทยมีความรวดเร็วกว่าพื้นที่อื่น ๆ จากการเปรียบเทียบ โดยมีปัจจัยเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองที่จำเป็นต้องบริหารจัดการ ได้แก่ 1) ความไม่เท่าเทียมในระดับพื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ และภาคใต้ซึ่งมีความไม่เท่าเทียมสูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงหากปล่อยให้กระบวนการเข้าสู่ความเป็นเมืองเกิดขึ้นโดยมิได้มีการบริหารจัดการที่ดี เนื่องจากจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาความแตกต่างด้านสภาพความเป็นอยู่และการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานมากยิ่งขึ้น 2) การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลางที่เกิดใหม่ ซึ่งเรียกร้องให้มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อความเป็นเมือง บริการสาธารณะต่าง ๆ ที่มากกว่าระดับพื้นฐาน และ 3) ความผันผวนของต้นทุนในการจัดบริการโครงสร้างพื้นฐานและการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยเมืองส่วนใหญ่กำลังขยายตัวอย่างไร้แบบแผนและไม่มีการควบคุม ส่งผลให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงงบประมาณโครงการที่ดำเนินการไปแล้วกลับมาได้อีกซึ่งนำไปสู่สภาวะของการใช้พลังงานและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีต้นทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองต่อภาคการศึกษาที่สำคัญมี 3 ประการ คือ โอกาสในการเข้าเรียนและการคงอยู่ในระบบการศึกษาเพิ่มขึ้น การใช้งบประมาณเพื่อการจัดการศึกษาที่เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของอุปทานและอุปสงค์ และมีการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในสถานศึกษามากขึ้น โดยทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อรองรับกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองแบ่งเป็น 2 ชุดข้อเสนอ ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการเมืองตามระดับการพัฒนาและ 2) การกำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับระดับของการพัฒนาและการพิจารณาเกี่ยวกับความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ

 

Urbanization: Study on Thai Educational Preparation

This research aims to study how urbanization significant for Thailand and having impacts on the sector of education from looking through the global experiences. The methodology applied in this research is a qualitative analysis. The research finds that the urbanization in Thailand is highly dynamic and trends to a more rapid growing comparing to some other regions. However, there are more or less risky factors that are needed to be considered to resolve. The risky factors are explained in 3 points. First, the regional discrepancy shows the existence of inequalities in certain areas, particularly between Bangkok and the Southern regions. The urbanization that grows without efficient management can be perilous and aggravate the problematic issues of the people’ s well-being and accessibility to the basically necessary public provisions. Second, the rise of the middle class results in more needs for urban infrastructure and public services, on top of the basic necessities. Third, while most of the sprawls are expanding without any controlled regulation, the fluctuations in the costs of infrastructure, public services, and land utilization cause financial difficulties to change the budget distribution. This spoils the energy consuming as well as creates an unnecessary extra-cost for infrastructure investment.

The impacts of urbanization on the sector of education are analyzed in 3 aspects. They are: the growths of accessibility to learning and maintaining the learning status, the growths of public budgeting and financing for education in both demand and supply, and the Western educational management approach is increasingly applied to the teaching and learning at schools. This research suggests 2 possible ways for the policy implementation to cope with the future urbanization. They are: enhancing the potentiality to manage the cities according to their levels of development, and specifying the levels of development including considering the autonomy in public administration.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)