การสร้างเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พัชรา พุ่มพชาติ

บทคัดย่อ

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการคิดที่หลากหลายแปลกใหม่จากเดิมและมีประโยชน์นำมาวิเคราะห์และไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล โดยคำนึงถึงผลกระทบ เพื่อให้ได้วิธีที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ตัดสินใจสำหรับการแก้ปัญหาได้ด้วยความสำเร็จ เด็กปฐมวัยเป็นวัยแห่งการวางรากฐานของพัฒนาการอย่างรอบด้าน ด้วยเด็กมีความพร้อมสำหรับการคิดและการเรียนรู้ที่เป็นผลจากสมองของเด็กที่อยู่ในช่วงแห่งการเจริญเติบโตสูงสุด สิ่งเหล่านี้จึงมีความสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อการพัฒนาสมอง การเสริมสร้างการเรียนรู้และการคิด ความร่วมมือ ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยมีกระบวนการประกอบด้วย 5vขั้นตอน คือ 1. การค้นหาปัญหา (Problem Finding) 2. การค้นหาความคิด (Idea Finding I) 3.การเลือกกลวิธีการแก้ปัญหา (Strategy Finding) 4. การลงมือปฏิบัติ (Action Finding) และ 5. การประเมินผล (Assessment Finding) การสร้างเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต้องให้ความสำคัญกับการใช้คำถาม จะช่วยให้เด็กได้แสดงความคิดอย่างอิสระและช่วยสร้างความคิดใหม่ที่หลากหลาย แปลกใหม่และมีประโยชน์ โดยเน้นการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันที่มีความท้าทายและสนุกสนาน

 

Enhancing to Creative Problem Solving Capability for Young Children

The creative problem solving ability refers to a simple process that involves breaking down a problem to understand it, generating ideas to solve the problem and evaluating those ideas to find the most effective solutions. Early childhood is the foundation of the development of all-round way. Their creativity will reach its peak before the age of six, after which it will begin to decline with the onset of formal schooling and the developmental drive towards conformity. However, supporting your child’s creativity in preschool sets the stage to foster its continued development in the years beyond.

Effective of creative problem solving usually involves working through 5 stages. The five stages are (1) problem finding; identifying the nature of the problem (2) idea finding; fact-finding and developing a clear picture of the problem (3) strategy finding; looking for possible solution (4) action finding; acting of the chosen solution and (5) assessment finding; checking that the process was successful. To promote the ability of creative problem solving, it is important to help student learn how to think more productively. It allows children to express their thoughts freely and help generate new

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)