การศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ study of desired graduate characteristics of Bachelor of Business Administration Program in Sports Management, Thailand National Sports University, Chiang Mai campus

Main Article Content

sasijan panjatawee

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้าน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ได้แก่ ความรู้ ทักษะ เจตคติ และลักษณะบุคคล 2) เปรียบเทียบความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ระหว่างผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษา บัณฑิต และผู้ที่คาดว่าจะศึก และ 3) เสนอแนะแนวทางการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษา บัณฑิต และผู้ที่คาดว่าจะศึกษาต่อ จำนวนรวม 1,200 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความตรง 0.96 ค่าความเที่ยง 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว กับการวิเคราะห์เชิงบรรยาย โดยการตีความแบบอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า


1) ความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ลักษณะบุคคล และจริยธรรม


2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์แตกต่างกัน 2 ด้าน ได้แก่ จริยธรรม และลักษณะบุคคล


3) ในภาพรวม ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์น้อยกว่ากับนักศึกษา บัณฑิต และผู้ที่คาดว่าจะศึกษาต่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นคุณลักษณะในการจัดกิจกรรมทางการกีฬา การสื่อสารทางการกีฬาด้วยภาษาอังกฤษ การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ จิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความอดทนในการทำงานตามวิชาชีพ และใช้จ่ายอย่างประหยัด


4) ควรกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรโดยให้ความสำคัญกับความรู้เป็นลำดับแรก ด้วยการพัฒนาหลักสูตรวิชาการ และมุ่งเน้นการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อยทุกรายการ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). คู่มือการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (สำหรับสถาบันอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

การะเกด หัตถกิจวิไล และวิเชียร ทุวิลา. (2565). การศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ครุศาสตร์สาร, 16(2), 232-247.

ดิฏฐชัย จันทร์คุณา, อัศวิน จันทรสระสม, กรรณิกา อินชะนะ, ธิติพงษ์ สุขดี, และนิลมณี ศรีบุญ. (2564). ผลกระทบของโรคโควิด-19 ต่ออุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13(2), 263-276.

ชลิตา ชมสีดา และธิติพงษ์ สุขดี. (2565). การประเมินความต้องการจำเป็นในการเตรียมสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(1), 182-189.

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 (2565, 9 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212 ง. หน้า 11-20.

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 (2565, 9 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212 ง. หน้า 35-36.

เมษ รอบรู้ และลักษณพันธ์ บำรุงรัตนกุล. (2558). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(2), 221-231.