แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมให้แก่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

กมล โพธิเย็น

บทคัดย่อ

พฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่มีการแสดงออกอย่างดีงาม ถูกต้องเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของผู้คนในสังคมส่วนรวมนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยจรรโลงและผดุงสังคมให้อยู่ได้อย่างสงบสุขและเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดีงาม ปัจจุบันมักจะเกิดพฤติกรรมในสังคมที่เป็นปัญหาเชิงจริยธรรมอยู่เสมอทั้งนี้เป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติของผู้คนในสังคมบางส่วนที่ไม่ทำตามกฎเกณฑ์ กติกา ตลอดจนระเบียบแบบแผนที่ดีงามของสังคมที่ได้กำหนดไว้อันก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อผู้ที่กระทำเองและต่อส่วนรวมและก่อให้เกิดความวุ่นวาย ความไม่สงบสุขในสังคม ดังนั้นการปลูกฝังพฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ถูกต้องดีงามเหมาะสมสอดคล้องกับความคาดหวังของสังคม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญและหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อสร้างเสริมให้เป็นลักษณะนิสัยให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อให้เกิดการประพฤติปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ กติกา และระเบียบแบบแผนอันดีงามของสังคมให้เป็นนิสัยประจำตน แนวทางการปลูกฝังพฤติกรรมเชิงจริยธรรมนั้นจะเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของนักจิตวิทยาที่สำคัญ 2 คนด้วยกัน ได้แก่ พีอาร์เจต์ ซึ่งเน้นการยึดถือกฎเกณฑ์โดยการกำหนดขึ้นจากพ่อแม่ ครูอาจารย์สำหรับเด็กในวัย 5 -8 ปี และจะเน้นการให้รางวัลและการลงโทษเป็นสำคัญ ส่วนเด็กตั้งแต่ 9  ปีขึ้นไปการกำหนดกฎเกณฑ์ กติกาจะขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มนั้น ๆ ในขณะที่ โคลเบอร์ก จะเน้นการได้รับรางวัลและการลงโทษในการกระทำพฤติกรรมที่ดีงามเหมาะสมในวัยเด็กเล็ก การทำตามกฎกติกาเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่มในช่วงวัยรุ่น และการใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจแสดงพฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ถูกต้องดีงามด้วยการใช้ปัญญาไตร่ตรองสำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป แนวคิดจากทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของนักจิตวิทยาเหล่านี้จะใช้เป็นแนวทางในการปลูกฝังพฤติกรรมเชิงจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อให้แสดงการกระทำที่ถูกต้องดีงาม เหมาะสมสอดคล้องกับความคาดหวังของสังคมส่วนรวมให้มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)

References

Department of Academic Affairs, Ministry of Education. (1992). Guidelines for the development of Thai ethies. (in Thai). Bangkok: Religious Publishing House.

Duangduean Phanthumnawin. (2000). Moral and ethical development guidelines for children age3-6 yeaes. (in Thai). Bangkok: Teachers Council of Ladpro.

Kolhberg, L. (1976). Moral Stage and Moralizational. The Cognitive Development Apprpach. New York: Holt Rinehart and Winston.

Piaget, Jean. (1960). The Moral Judement of the Child. Illinois: The Free Press.

Pra Dhammapitaka. (1996). A manual for disseminating Buddhism. (In Thai). Bangkok: Religious Affairs Department printing house.

Pra Phromkunaphorn (Por.Payutto) (2003). The holistic development of Thai children: a textbook project of the Office of the Advisory Council, Department of Health: Ministry of Public Health.

Thitima Champarat. (1990). The relationship between ethical reasoning and ethical behavior of nursing students in Bangkok. Master Thesis. Graduate School. Mahidol University.

Weera Bamrungrak. (1996). Thai Ethics Development Guidelines. (In Thai). Bangkok: Religious Printing Press.