Expectations of Teachers and Educational Personnel in Bangkok Metropolitan on Competencies of the National Education Policy Commission
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อสมรรถนะของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ และเพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อสมรรถนะของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 457 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบที (t-Test) การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณเชฟเฟ่ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05
ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความคาดหวังของต่อสมรรถนะของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.44, S.D.=0.56) และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา ประเภทของบุคลากร และประเภทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ที่ต่างกัน มีความคาดหวังต่อสมรรถนะของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติแตกต่างกัน แต่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทางตรงกันข้าม เพศ ประสบการณ์การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อความคาดหวังต่อสมรรถนะของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติที่แตกต่างกันดังนั้น คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติควรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีสมรรถนะอันจะส่งผลให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นอิสระทางการตัดสินใจ และมีความสรรถนะในการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bloom B.S.. (1956). Taxonomy of educational objectives. Handbook 1: the classification of educational
goals: Cognitive domain. New York: David Mackey Company.
International Institute for Management Development. (2022). IMD World Competitiveness Booklet 2022.
Lausanne Switzerland: n.p.
J. C. Turner. (1982). Toward a cognitive definition of the group. Cahiers de Psychologie Cognitive/Current
Psychology of Cognition. 1, (2): 93-118.
Joshi, A., Kale, S., Chandel, S., & Pal, D. K. (2015). Likert scale: Explored and explained. British journal of applied
Science & techonology, 7(4), 396.
Rapp Stephan And Other. (2022). Schoolboards' expectations of the superintendent – a Swedish national survey.
EBSCOhost. 74, (6) : Page 1101-1118.
Victor H. Vroom. (1964). Work and motivation. New York: n.p.
Yamane. (1967). Statistics An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). รายงานพันธกิจของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา.
กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
พัทนรินทร์ คำภิชัย. (2538). แรงจูงใจและความคาดหวังของนักศึกษาที่เข้ามาเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน
สายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีการเรียนทางไกลในเขตอำเภอเมืองลำปาง. ลำปาง: ศูยน์ศึกษานอก
โรงเรียนภาคเหนือ.
พิชิต แจ้งคำ. (2544). ความคาดหวังของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง กองตรวจคนเข้าเมือง 2 ต่อภาวะผู้นำของรอง
สารวัตร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพชรี หาลาภ. (2538). ความคาดหวังของผู้บังคับบัญชาระดับกลางที่มีต่อบทบาทการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา
ระดับล่างในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยา
อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ราชกิจจานุเบกษา. 6 เมษายน 2560. ตอน 40 ก, หน้า 1.
______________. 1 พฤศจิกายน 2561. ตอนที่ 258 ง, หน้า 1.
สกาวเดือน ปธนสมิทธิ์. (2540). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการรื้อปรับระบบของพนักงานธนาคาร. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
หยาดพิรุณ ทองรักชาติ. (2560). ความคาดหวังของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
นนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรรถพล พระลักษณ์. (2554). ความคาดหวังของประชาชนในเขตอำเภอเมืองราชบุรีต่อการบริหารงานของนายกองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อริยา คูหา. (2546). แรงจูงใจและอารมณ์. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อรณิชชา ทศตา และคณะ. (2558). คาดหวังของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน
จังหวัดนครราชสีมา. ปทุมธานี: โรงพิมพ์เทคโนโลยีปทุมธานี(พี-เทค).