ผลของการใช้เทคนิค Storyline และนิทานพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

Pichamon Piw-orndee

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการใช้เทคนิค Storyline และนิทานพื้นบ้าน 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการใช้เทคนิค Storyline และนิทานพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่าง  คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 จำนวน 29 คน โดยวิธีการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค Storyline และนิทานพื้นบ้าน จำนวน 3 แผนการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 1 ฉบับ  3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เทคนิค Storyline และนิทานพื้นบ้าน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า  (t-test) แบบ dependent ผลการวิจัย พบว่า


1) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการใช้เทคนิค Storyline และนิทานพื้นบ้าน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความ  พึงพอใจต่อการใช้เทคนิค Storyline และนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.16

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)