การศึกษาผลการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การศึกษาผลการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

Panarat Pimpat
ผศ.ดร.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลการประเมินผลการสร้างสรรค์งานศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) 2) เพื่อศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนซึ่งกำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่   4/2  ปีการศึกษา 2564  จำนวน 33 คน และครูประจำวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศิลปะ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านเกริงกระเวีย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบประเมินการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 2) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมฯ ผลการวิจัยพบว่า ผลประเมินการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education ) โดยภาพรวม นักเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอยู่ในระดับดี (  = 2.84   S.D. = 0.10 ) การเห็นคุณค่าในตนเอง อยู่ในระดับดี  (   = 2.66 , S.D. = 0.09 ) ผลระดับความพึงพอใจจากการร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับมาก (  = 2.63 ,S.D. = 0.37)   

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

เจนจิรา สันติไพบูลย์. (2560). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด STEAM ร่วมกับการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการและความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3). 69-85.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา. (2539). ผลการฝึกอบรมที่ต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5.

ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. สถาบันวิจัย

พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

เชษฐา ผาจันทา. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิขาศิลปศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน

มัธยมศึกษากรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.เทคโนโลยีทางการศึกษา)

– มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 2541

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: หจก. SR Printing.

บุญยนุช สิทธาจารย์. (2560). การพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ทัศณียา บัวภา. (2556). ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศร

นครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภารดี กำภู ณ อยุธยา. (2550). ผลของโปรแกรมศิลปะบำบัดสำหรับกลุ่มต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง

ของเด็กอายุ 9-11 ปี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. (2543). การเรียนการสอนและประสบการณ์ด้านสุนทรียภาพและศิลปวิจารณ์.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มะลิฉัตร เอื้ออานันท์.. (2545). ศิลปศึกษาแนวปฏิรูปฯ : ความเป็นมา ปรัชญาหลักการ วิวัฒนาการ

ด้าน หลักสูตร ทฤษฎีการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและ เอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยลรวี โรจน์ทอง. (2556). การศึกษาการเปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา

เลิศ อานันทนะ. (2523). ศิลปะในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กราฟิคอาร์ต.

วิสูตร โพธิ์เงิน. (2556). ศิลปะสำหรับเด็ก. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิสูตร โพธิ์เงิน. (2559). STEAM ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 45 (1). 320-324.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวณี แกสมาน. (2545). การสอนแบบ "บูรณาการ" : การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2551) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.[สื่ออิเล็กทรอนิกส์],สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2562. จาก https://elibrary.ksp.or.th/index.php?lvl=notice_display&id=16439

ภาษาอังกฤษ

Sousa, D. A. & Pilecki, T. J. (2003). From STEM to STEAM: Using Brain-Compatible

Strategies to Integrate the Arts. Thousand Oaks, California : Corwin Press, a SAGE Company.

Guy,A. B. (2013). From STEM to STEAM: Toward A Human-Centred Education,

Creativity & Learning Thinking. in Papers. European Conference on Cognitive

Ergonomics, (ECCE 2013). France: Toulouse.

HenriksenFull D. (2014). STEAM Ahead: Creativity in Excellent STEM Teaching

Practices The STEAM Journal. 1, (2), 15