ผลการใช้แนวการสอนอ่านแบบเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์

Main Article Content

Darika Kammee

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แนวการสอนอ่านแบบเน้นภาระงาน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแนวการสอนอ่านแบบเน้นภาระงานในการส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปี 2 จำนวน 20 คน วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ ที่เรียนรายวิชาการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ (20000-1203) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวการสอนอ่านแบบเน้นภาระงาน 2) แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแนวการสอนอ่านแบบเน้นภาระงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน     


          ผลการวิจัยพบว่า


          1) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลังเรียนโดยใช้แนวการสอนอ่านแบบเน้นภาระงานสูงกว่าก่อนเรียน


          2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแนวการสอนอ่านแบบเน้นภาระงานอยู่ในระดับมาก


 


 


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Best, J. W. (1986). Research in Education (5 ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Branden, K. (2006). Task-Based Language Education: From theory to practice. Cambridge:

Cambridge University Press.

Carrell, P.L. (1989). “Metacognitive Awareness and Second Language Reading”. The Modern

Language Journal 73(2): 121-134.

Chalak, A. (2015). "The effect of task-based instruction on reading comprehension of Iranian EFL

learners". Apply Research in English 4(1): 19-30

Chung, Y., & Révész, A. (2021). “Investigating the effect of textual enhancement in post-reading

tasks on grammatical development by child language learners”. Language Teaching

Research 00(0): 1-22 [Online]. Retrieved November 10, 2021, from https://www.semanticscholar.org.

Dubin, F. (1982). “What every teacher should know about reading”. English teaching 20(7): 20:

-16.

Gokhale, A. (2000). "Collaborative Learning Enhances Critical Thinking". Journal of Technology

Education 7(1) 22-30. [Online]. Retrieved December 5, 2021, from

https://www.researchgate.net.

Grabe, W. & Stoller, F. L. (2002). Teaching and researching reading. London: Longman.

Nahavandi, N. and Mukundan, J. (2013). "Task-based Cycle in Reading Comprehension Classes".

International Journal of Applied Linguistics & English Literature 2(2): 107-113 [Online]. Retrieved November 2, 2021, from http://www.journals.aiac.org.au.

National Institute of Education Testing Service. (2019). Vocational National Educational Test :

V-Net for business computer. [Online]. Retrieved from http//www.niets.or.th. [In Thai]

Nunan, D. (2004). Task-based Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Richards, J. C. (2006). Communicative Language Teaching Today. Cambridge: Cambridge

University Press.

Ruiz,Y. (2015). “Improving reading comprehension through the use of interactive reading

strategies: A quantitative study”. Semantic Scholar. Retrieved January 7, 2020, from

https://www.semanticscholar.org.

Skehan, P. and Foster, P. 1997: “Task type and task processing conditions as influences on

foreign language performance”. Language Teaching Research 1: 185-211.

Takrudkaew, T. (2020). Model of Learning Management to Develop English Skills of Vocational

Students in Thailand. Doctor of Philosophy (DEVELOPMENT EDUCATION) Department of

Education Foundations Graduate School, Silpakorn University. (In Thai)

University Press.

Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. London: Longman.