การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

Juthamas Jamjumras

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD 2) ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ของการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD เรื่องวัสดุและการใช้ประโยชน์ 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบสังเกตจิตวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบหาค่าที (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรีย สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ เทคนิค STAD อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิชาการและมาตราฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กนกกาญจน์ บุดดี. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ

การสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี หีบแก้ว. (2552). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิทยาศาสตร์เรื่อง ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยะภรณ์ สาริบูรณ์. (2553). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

เรื่อง การหารชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD กับ

การจัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พลกฤต โกฏิกุล. (2555). ผลการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์

จังหวัดพัทลุง. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขธรรมธิราช

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 8).

นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์.

กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

Akinoglu, O. & Tandogan, R. (2007). The effects of problem-based active learning in science

education on student's academic achievement, attitude and concept Learning.

Eurasia Journal of Mathematics. Science & Technology Education : 71-81.

Scott, Terry Michael. (1984). The Effects of Cooperative Learning Environment on

Relationships with Peers, Attitudes Toward Self and School and Achievement

in Spelling of Ethnically Diverse Elementary Students. Northern Arizona University

Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning theory. Research and Practice (2nd ed.).

Massachsetts: A Simom& Schuster.