การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

Chanasith Sithsungnoen

บทคัดย่อ

การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1)  เพื่อประเมินบริบทของหลักสูตร 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร 3) เพื่อประเมินกระบวนการของหลักสูตร 4) เพื่อประเมินผลผลิตของหลักสูตร และ 5) เพื่อประเมินผลกระทบของหลักสูตร โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPI Model  กลุ่มเป้าหมาย  มีทั้งสิ้น   91  คน  ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาบัณฑิต และผู้ใช้มหาบัณฑิต เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย  แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และ ประเด็นการสนทนากลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า


1.ผลการประเมินบริบทมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.58, SD = 0.57)   ข้อเสนอแนะ: ควรปรับรายวิชานวัตกรรมทางหลักสูตรและการสอน หลักสูตรวิชาชีพครู รายวิชาเลือกที่หลากหลาย


  1. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (M = 4.50, SD = 0.70) ข้อเสนอแนะ: ควรมีการพัฒนาอาจารย์ในเรื่องใหม่ๆ และนักศึกษาสามารถเสนอนวัตกรรมทางด้านหลักสูตรและการสอนได้

  2. ผลการประเมินกระบวนการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.68, SD = 0.52) ข้อเสนอแนะ: สนับสนุนทุนแก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนด และจัดการเรียนการสอนควรเน้นวิจัยเป็นฐาน


    1. ผลการประเมินผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.57, SD = 0.72) ข้อเสนอแนะ: ควรเพิ่มเติมการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาและเป็นผู้นำการจัดการเรียนรู้ทาง Online

    2. ผลการประเมินผลกระทบ พบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษามีความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักสูตรเพื่อการปฏิบัติงานและการพัฒนาวิชาชีพ   ข้อเสนอแนะ:  ควรเพิ่มเรื่องชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อให้บัณฑิตได้เป็นผู้นำทางวิชาการ


Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2561). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม : คระศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2564). การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์และคณะ. (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

หลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม :

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 2558. [Online] เข้าถึงเมื่อ วันที่ 12 มิถุนายน 2563 สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/.

Henson, K. T.(2001). Curriculum Planning : Integrating Multiculturalism, Constructivism, and

Education Reform. (United States : McGraw-Hill Companies, Inc.

Stufflebeam and Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. John Wiley and Son, Inc.

Ubonwan Songserm, Chanasith sithsungnoen et al. (2018). The Curriculum Evaluation on Master of Education Program in Curriculum and Supervision, Faculty of Education Silpakorn University . Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities and Arts(HASSS). 18(1) (January - April) 2018) : 113-127.