ผลการสอนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่นเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

Main Article Content

อิศเรศ สุขชม
ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์
ศศิธร กาญจนสุวรรณ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น          (2) เปรียบเทียบความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถการอ่านจับใจความกับความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น


                กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม  จำนวนนักเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความและการเขียนสร้างสรรค์โดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น  แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านจับใจความ และแบบทดสอบการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


                ผลการวิจัย พบว่า (1) ความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น มีความสัมพันธ์กับความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์  โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวก  (r=.647**) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Bunsarn, T. (2017). Instructional program to enhance team work skills by applying gamification technique on programming I for enrichment science classstudent mathayonsueksa IV kanlayanawat school. Master’s dissertation, Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham, Thailand.

Kaemkate, W. (2012). Behavioral Science Research Methodology. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Munnsettawit, S. (2009). Principles and methods for teaching reading Thai language. (7th edition). Bangkok: Thai Wattana Panich.

Munnsettawit, S. (2011). Principles and methods for teaching reading Thai language. Bangkok: Prime Minister's Office

Panich, W. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century. (1st edition). Bangkok: Tathata Publication Co., Ltd.

Shinwaro, S. (2011). The use of stories to develop reading comprehension skills for Prathomsuksa 4 students at Ban Wang Pha School. Chiang Rai Educational Service Area Office, Region 2. (Master's thesis). Chiang Rai : Chiang Rai Rajabhat University.

Thorndike, E.L. (1913). Educational Psychology. Vol. 1. The Original Nature of Man. Columbia Univ.:

New York.

Wongsawan, V. (2016). Development of learning achievement of primary school students with low academic performance. Academic Journal Bangkok Thonburi University. 5(1): 95-104.

Srisuwan, P. (2006). The use of local literature, a medium to develop reading and writing skills of Prathom Suksa 6 students in Thung Yang Daeng District Pattani Province. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.