วินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย : สร้างเสริมได้ด้วยแนวทางการสร้างวินัยเชิงบวก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอการสร้างเสริมวินัยในตนเองด้วยแนวทางการสร้างวินัยเชิงบวก ซึ่งวินัยในตนเองเป็นคุณลักษณะสําคัญของบุคคลซึ่งนําไปสู่การดําเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม มีความสุข และประสบความสําเร็จ วินัยในตนเองเป็นพื้นฐานของบุคคลที่มีคุณภาพ เพราะบุคคลจะสามารถควบคุมตนเอง พัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการและความจําเป็นในการดําเนินชีวิตอย่างถูกต้อง เหมาะสมโดยที่ไม่ต้องให้บุคคลอื่นมาควบคุมบังคับ วินัยในตนเองที่ควรสร้างเสริมสําหรับเด็กปฐมวัยประกอบด้วย การรับผิดชอบ การตรงต่อเวลาการอดทน อดกลั้น การมีเหตุผล การซื่อสัตย์ การยอมรับผู้อื่น และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กติกา ข้อตกลง ซึ่งวินัยในตนเองเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยควรให้ความสําคัญในการเสริมสร้าง ด้วยวินัยในตนเองเป็นคุณลักษณะภายในของบุคคลที่จําเป็นต้องได้รับการสร้างเสริมตั้งแต่ในช่วงปฐมวัยเนื่องด้วยเป็นช่วงระยะเวลาที่สําคัญในการพัฒนาบุคคล โดยการสร้างเสริมวินัยในตนเองสําหรับเด็กปฐมวัยควรเริ่มที่ครอบครัว และเชื่อมต่อมายังโรงเรียนด้วยแนวทางการสร้างวินัยเชิงบวก เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาจนกลายเป็นพฤติกรรมที่มีความคงทนติดตัวบุคคลไปตลอด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ. (2560). บทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่
1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิตโสภิณ โสหา. (2560). สภาพและปัญหาของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้น
ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภัทรมนัส มณีจิระปราการ. (2560). ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน: การประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาล.
วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. ปีที่11 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ) พฤษภาคม - สิงหาคม 2560 หน้า 52 - 60.
ยศวีร์ สายฟ้า. (2561). รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา: ก้าวย่างที่สำคัญของเด็ก
ประถมศึกษา วารสารครุศาสตร์. ปีที่ 42 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2557หน้า 143 - 159.
ยศวีร์ สายฟ้า. (2561). รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้กับการพัฒนาทักษะสมอง EF คู่มือการพัฒนาทักษะสมอง EF ในเด็ก 7 –
12 ปี สำหรับพ่อแม่และครู. กรุงเทพมหานคร: อักษรสัมพันธ์.
ภาษาต่างประเทศ
Al-Yateem, N. and Docherty, C (2015). Transition: A concept of significance to nursing and health care
professionals Journal of Nursing Education and Practice from
https://www.researchgate.net/publication/273136044_ (15 พฤษภาคม 2563)
Collins.(2020).Definition of transition From https://www.collinsdictionary.com/
dictionary/english/transition. (15 พฤษภาคม 2563)
Momaha, G. (2017). How to help your child in transition from Kindergarten to First Grade.
From https://www.sharingourexperiences.com/how-to-help-your-child-in-transition-From
kindergarten to first grade/ (15 มิถุนายน 2563).
O’Kane, M. (2016). Transition from Preschool to Primary School. Dublin: National Council for
Curriculum and Assessment.
Sharp, C. (2006). Making a successful transition to year 1 Practical research for education. 35 May 2006
pp. 20–27.
Sink, A.L.,Edwards, N.C., Weir, J.S. (2007). Helping Children Transition from Kindergarten to First
Grade.Fromhttps://www.researchgate.net/publication/277344876_Helping_Children_Transition_from_Kindergarten_to_First_Grade (15 มิถุนายน 2563).