การประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบผลการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2) เพื่อทราบผลการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตร ตามทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ 3) เพื่อทราบผลการเปรียบเทียบการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรกับทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ ประชากร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการ จำนวน 4 คน อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ จำนวน 32 คน ผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 12 คน และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (m) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
- การประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลางโดยภาพรวม พบว่า 1.1 ด้านบริบทโดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนอาจารย์ประจำหลักสูตรมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวม พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษา มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้บริหาร อาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษา มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
1.3 ด้านกระบวนการโดยภาพรวม พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษา มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้บริหาร อาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษา มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
1.4 ด้านผลผลิตโดยภาพรวม พบว่า นักศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้บริหารและอาจารย์ประจำหลักสูตร มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
- ผลการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรตามทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยภาพรวม ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมีความเห็นสอดคล้องกันว่าการบริหารจัดการหลักสูตรมีความสอดคล้องเหมาะสม และน่าพอใจทั้ง 4 ด้าน
- ผลการเปรียบเทียบการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตร พบว่า ผู้บริหาร อาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษามีความคิดเห็นว่าการบริหารจัดการหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับผู้เชี่ยวชาญทุกท่านซึ่งมีความเห็นว่ามีความเหมาะสม และมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการหลักสูตร
Article Details
References
ภาษาไทย
Chaiso, P. and Others. (2016). “Curriculum Evaluation and Development of Doctor of Education Program in Educational Research and Development. Faculty of Education, Kasetsart University”. Dusit Thani College Journal 10(2): 22-23. (in Thai)
Chaiso, P. and Others. (2008). “Evaluation of science education curriculum, doctoral degree program (five years program), Department of Education, Faculty of Education, Kasetsart University”. Proceedings of 46th Kasetsart University Annual Conference. (in Thai)
Chatakan, W. (2009). Management Techniques For Professional Education Administrators. 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Domrongkijkosol, C. (2015). “The Development of Instructional Course Evaluation System for Institution under the Commission of Vocational Education” The Journal of Faculty of Applied Arts, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok 8(1): 82. (in Thai)
Lakekhum, S. (2010). An Evaluation and the Developing Guidelines for Curriculum Development of Bachelor of Nursing Science Program B.E. 2545,Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. Doctor of Philosophy Thesis Program in Education in Higher Educational at Srinakharinwirot University. (in Thai)
Mokkaranurak, D. (2011). The Scenario of Vocational Education in Thailand During The Next Decade (2011-2021). Doctor of Philosophy Thesis Program in Education Administration Graduate School Khonkaen University. (in Thai)
Office of the National Education Commission ,Office of the Prime Minister, National Education Act B.E. 1999, 5. (in Thai)
Wangthanomsak , M. (2011). “Evaluation of the Ph.D. Curriculum in Educational Administration, Faculty of Education, Silpakorn University” Silpakorn Educational Research Journal 3(1, 2): 45-47. (in Thai)
Wesarach, P. (2004). Executive Training Set : Material Lesson Chapter 1 Principles of Educational Management Office of Educational Reform. Bangkok: Golden Point Co.,Ltd. (in Thai)
ภาษาต่างประเทศ
John W.Best. (1970). Research in Education.Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall inc.
Stufflebeam, Daniel L. (1983). The CIPP Model for Program Evaluation. Evaluation models : viewpoints on educational and human services evaluation. Boston: Kluwer-Nijhoff.