แนวทางการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาเพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงิน ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบันในเรื่องวินัยทางการเงินของนักศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อหาแนวทางในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงิน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จากจำนวน 14 คณะวิชา คณะวิชาละ 30 คน จำนวนทั้งสิ้น 420 คน ซึ่งใช้วิธีกำหนดขนาด
กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan เป็นการวิจัยแบบผสม (Mix Methodology) การวิจัยแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) ประเด็นในการอภิปรายกลุ่มย่อย
(Focus Group Discussion) เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก (= 4.12,
S.D. = 0.76) นักศึกษามีความคิดเห็นว่าการจัดกิจกรรมนักศึกษา มีส่วนช่วยส่งเสริมวินัยทางการเงิน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.15, S.D. = 0.73) โดยปัจจัยสนับสนุนแนวทางการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาเพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงิน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต พบว่า สถานศึกษาต้องให้ความสำคัญในการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงิน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดการเชื่อมโยงและต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนและผลักดัน ทั้งรูปแบบการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน
2) แนวทางการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาเพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงิน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต พบว่า บทบาทของสถานศึกษา ผู้บริหารและบุคลากร การเรียนรู้ กิจกรรม เป็นปัจจัยความสำเร็จที่มีส่วนสร้างความยั่งยืนที่แท้จริง และเป็นไปอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างเป็นลำดับขั้นตอน กล่าวคือการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษา โดยกลุ่มผู้บริหาร ซึ่งพิจารณาจากบริบทอันมีโครงสร้างโครงสร้างองค์กร ที่ตั้งพื้นที่การศึกษา และการบริหารองค์กร บนฐานการพัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน บูรณาการองค์ความรู้จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่กิจกรรมและการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะนักศึกษาตามรูปแบบกิจกรรมทั้ง 5 ประเภท
Article Details
References
จิรวัฒน์ วีรังกร. (2546). “ทิศทางการพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บนเส้นทางปฏิรูป
การเรียนรู้.” เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรม นักศึกษา.
กรุงเทพฯ: 3-4.
มานิต กิตติจูงจิตร. (2555). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิตแห่งความสมดุล. กรุงเทพฯ: แสง
จันทร์การพิมพ์.
สุมณฑา พรหมบุญ. (2546). การปฏิรูปการศึกษา : ปัญหาทางเลือกและทางออก. วารสารการศึกษา
มศว. 1 (มิถุนายน-กันยายน). 2-4.
สุรยุทธ์ จุลานนท์. (2550). นายยกฯ เดินสายแจงนักลงทุนย้ำปี 50 เร่งปฏิรูปเศรษฐกิจพอเพียงอ้า
แขนรับต่างชาติ. วันที่ค้นข้อมูล14 มีนาคม 2551, เข้าถึงได้จาก http://www.naewna-
-.com/new.asp
สุวงษ์ พิมพิสณฑ์. (2547). พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักศึกษา ที่กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้เพื่อ
การศึกษาในจังหวัดเลย : กรณีศึกษานักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตอำเภอเมืองเลย
จังหวัดเลยประจำปี 2544 . สถาบันราชภัฏเลย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). กิจกรรมนักศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจ
อาภรณ์ ดีนาน. (2551). แนวคิด & วิธีการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น. ชลบุรี: ไฮเดนกรุ๊ป.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Good, C.V. 1973. Distionary of Education. New York : Mc Graw-Hill Book Company
Jamais, C.J. (1969). Student Extra-Curriculum Activities and Public Relation in Student
Problem in Southeast Asian University Malaysia. Malaysai: Southeast Asian