สมรรถนะของเลขานุการผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีการตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหลักเลขานุการผู้บริหารโรงพยาบาล และสมรรถนะการปฏิบัติงานเลขานุการผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีการตกลงความร่วมมือทางวิชาการ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะเลขานุการผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีการตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นกลุ่มบุคลากรในสังกัดโรงพยาบาลที่มีการตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคริสเตียน 6 แห่ง รวม 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีการสรุปความจากเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับสมรรถนะหลักเลขานุการผู้บริหาร ด้านการยึดมั่นความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรมโดยมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S D = .58) สมรรถนะการปฏิบัติงานเลขานุการผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีการตกลงความร่วมมือทางวิชาการซึ่งมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ใน 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการจัดการประชุม ( = 4.32, S D = .63) ด้านการบริหารจัดการสำนักงานทางการแพทย์และคลินิก ( = 4.24, S D = .74) และด้านงานธุรการและสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ( = 4.08, S D = .64) สำหรับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะเลขานุการ จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง พบว่า สถาบันอุดมศึกษาควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนระหว่างการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษา โดยควรจัดให้มีการออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับสายงานสนับสนุนทางการแพทย์ของโรงพยาบาล การจัดประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษาที่สอดคล้องกับสาขาวิชาเอก และการนำผู้มีประสบการณ์ตรงมาถ่ายทอดความรู้ เพื่อทำให้นักศึกษามีสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงพยาบาลที่มีการตกลงความร่วมมือ
Article Details
References
Bank of Ayudhya. (2017). Trends in private hospitals from 2561 to 2563. [Online]. Retrieved. August 14, 2019. from
https://www.krungsri.com/bank/getmedia/.
Dejamonchai, S. (2015). “Desirable characteristics and preparation of French graduate for secretarial Works”. Bulletin de l'Association Thaïlandaise des
Professeurs de Français 38 (129), 68-80.
Jimakon, S. (20130. The Core Competency and the Performance Effectiveness of Secretary Office of the Judiciary. Public Administration Thesis Krirk
University.(in Thai)
Kaewbanjong, P. (2013). A Course of Development of Principle Competencies in the Job Performance of the Civil Servants under the Offices of Education
Regions 1-13. Master of Education in Education for Human Resource Development Thaksin University. (in Thai)
Keatwuttikan, N. (2011). “The Appropriate Competencies of Executive Secretaries in Mahidol University Kanchanaburi Campus” . Journal of Educational
Administration Silpakorn University 2 (1), 90-99.
Office of the Civil Service Commission. (2010). Handbook for Determining the Performance of the Civil Service: Core Competencies. Bangkok :
Prachomchang.
Tadadej, J . (2013). “International hospital accreditation in Thailand: Situation and trend”. Thai Journal of Public Health 43 (3), 313-321.
Spiller, P. (2015). Principles of Medical Secretary. Bangkok : Suan Dusit University.
Spiller, P. & Chantuk, T. (2015). “Medial Secretary Roles in The 21st Century” . Journal of Marketing and Management Rajamangala University of Technology
Thanyaburi 4 (1), 1-16.
Spiller, P. et al. (2018). The Competencies of the Medial Secretary in Supporting to Medical Personnel’s Work of Middle-Size Private Hospitals in Bangkok.
Muban Chombueng RajabhaUniversity Research Journal 6 (1), 108-119.