ความคิดสร้างสรรค์ : ส่งเสริมอย่างไรในวัยอนุบาล

Main Article Content

กรภัสสร อินทรบำรุง

บทคัดย่อ

ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวเราทุกคน ความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะเป็นความคิดแบบอเนกนัย                 (Divergent Thinking) ซึ่งเป็นการคิดที่แปลกใหม่ หลายทิศทาง สามารถมองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ในแนวกว้าง ภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด สามารถเชื่อมโยงและขยายความคิดที่มีอยู่ให้สมบูรณ์มากขึ้น ความคิดลักษณะนี้มีคุณค่า            ต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์เป็นที่มาของนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จำเป็น                  ต่อการดำรงชีวิต การเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและตัดสินใจด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่ที่ตระหนักถึงความสำคัญในคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ คอยสนับสนุน ให้กำลังใจ ให้โอกาสและเวลาอย่างเพียงพอและเหมาะสม โดยเริ่มจาก การกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการคิดที่มีคุณภาพ ให้กับเยาวชนของชาติ ประกอบการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในส่วนที่เป็นประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ เพื่อการออกแบบ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับวัย ช่วงความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย                     ภายใต้การจัดสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย ประกอบการใช้คำถามที่ฝึกให้เด็กคิด และหาคำตอบด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวเด็กเอง สังคม และประเทศ

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)