THE DEVELOPMENT OF LEARNING PACKAGES ON MATHEMATIC PROBLEM SOLVING OF WEIGHT DOSING AND MEASURE USING MULTIMEDIA AND DONYAYHOM LOCAL INFORMATION WITH KWDL TECHNIQUE FOR THE THIRD GRADE STUDENTS

Main Article Content

นางสาวอนิศา - เนตรเกื้อกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องโจทย์ปัญหาการชั่ง


ตวง วัด โดยใช้สื่อประสมและข้อมูลท้องถิ่นดอนยายหอม ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการฯ 3) ทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ฯ 4) และประเมินประสิทธิผลชุดการเรียนรู้ ฯกลุ่มตัวอย่างที่ ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนวัดดอนยายหอม (หลวงพ่อเงินอุปถัมภ์) ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561  จำนวน 28 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย       (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เวลา 10 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสอบถาม  4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 5) แบบประเมินควาพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t – test แบบ Dependentผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนครูผู้สอนคณิตศาสตร์ คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้นำท้องถิ่น ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้เรื่อง ประเพณีที่สำคัญในท้องถิ่นและศิลปหัตถกรรมในท้องถิ่น ลักษณะของชุดการเรียนรู้ มีเนื้อหาที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีภาพและสีสันสวยงาม ตัวอักษรมีความชัดเจนอ่านเข้าใจง่าย มีการ์ตูนประกอบเนื้อหา มีสื่อหลายๆชนิดและมีแบบฝึกหัดท้ายชุดการเรียนรู้ ด้านสื่อที่ใช้คือมี นิทาน แบบฝึกหัด เกม โปรแกรมนำเสนอ (Power Point) 2) ชุดการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด ประกอบด้วย 3 ชุด ได้แก่ เรื่องโจทย์ปัญหาการชั่ง (ขอทานกระยาสารท) เรื่องโจทย์ปัญหาการตวง (ประเพณีขว้างข้าวเม่า)  เรื่องโจทย์ปัญหาการวัด (หัตถกรรมล้ำค่าคือฝาชี) 3) ผลการทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ พบว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัดมากขึ้น มีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในกระบวนการกลุ่ม เมื่อทดลองใช้ชุดการเรียนรู้มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.31/82.50 4) ผลการประเมินประสิทธิผลชุดการเรียนรู้ เรื่องโจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการใช้ชดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 มีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 82.25 และเมื่อเทียบกับคะแนนก่อนเรียนพบว่ามีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเท่ากับ 69.34 และ ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)